วันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2556

บทที่1 แนวคิดและแนวโน้มเกี่ยวกับข้อมูลสารสนเทศยุคใหม่

บทที่1 แนวคิดและแนวโน้มเกี่ยวกับข้อมูลสารสนเทศยุคใหม่


1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสารสนเทศด้วยปัจจุบันนี้เป็นยุคข้อมูล ข่าสาร และความรู้หรือบางคนอาจกล่าวว่าเป็นยุคของสังคมสารสนเทศ
นั่นเอง ที่มีการศึกษาค้นคว้า วิจัยและทดลองในสาขาวิชาต่างๆมากมาย ทำให้เกิดมีความต้องการใช้ ข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เอื้ออำนวยให้เพิ่มปริมาณสารสนเทศได้อย่างรวดเร็วขณะเดียวกันหลายๆ คนอาจจะมีการเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นยุคแห่งการสื่อสารไร้พรมแดนที่มีการแข่งขันทางด้านข้อมูลข่าวสารอย่างแท้จริง ผู้ที่สามารถรับทราบข้อมูลข่าวสารจากทุกสารทิศได้มากที่สุดและรู้จักนำข้อมูลทั้งหลายเหล่านั้นมาประมวลผลเพื่อประกอบการตัดสินใจ ในการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ว่าทางสังคมเศรษฐกิจ การศึกษาและธุรกิจต่างๆ ดังที่มีผู้กล่าวไว้ในเวปของไทยนิวส์ว่า“ในโลกยุคดิจิตอลหรือสังคมข่าวสาร ข้อมูลข่าวสารแทรกเข้าไปในชิวิตประจำวันของคน เราต้องรู้จักใช้ข่าวสารให้เป็นประโยชน์แก่การดำเนินชีวิตตนเอง แก่อาชีพของตน แก่ชุมชน แก่สังคมของตน ใช้ข่าวสาร ความรู้เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ในสังคมข่าวสาร การที่จะมีพลังได้นั้น นอกจากมีอำนาจ เงินตราแล้ว ยังไม่พอต้องมีความรู้ด้วย ข้อมูลข่าวสารอย่างเดียวยังไม่พอ การแพ้ชนะอยู่ที่ใครจะแปลงข้อมูลข่าวสารเป็นความรู้ได้ดีกว่ากัน และใครจะใช้ความรู้นั้นได้เร็วกว่ากัน ข้อมูลข่าวสารเป็นอาหารทางสมอง ที่คนจะบริโภคตั้งแต่เช้าจนถึงก่อนนอน ใครควบคุมเครื่องมือและเครือข่ายข้อมูลข่าวสารได้
http://t1.gstatic.com/imagesq=tbn:ANd9GcTGGGMPWxo391nS61kvvO4EmG3Zem5H1p8fQY6A9RlKcrYq8m9APw
2. ความหมายของสารสนเทศ       สารสนเทศ หรือสารนิเทศ (Information) เป็นคำเดียวกันซึ่งสามารถให้ความหมายอย่างกว้างๆ
ว่าหมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ เรื่องราว ข้อเท็จจริงหรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ขณะเดียวกันก็มีความ
หมายในเชิงลึกว่า หมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ที่ผ่านการประมวลผล ซึ่งมีความหมายและสามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจในชีวิตประจำวัน หรือการทำงานนั้นๆชุติมา สัจจานันท์ (2530) ได้ชี้ให้เห็นว่าสารสนเทศ คือข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ข้อสนเทศ สารสนเทศทั้งในรูปแบบสิ่งพิมพ์ โสตทัศนวัสดุ และวัสดุย่อส่วน เพื่อใช้ประโยชน์ทางการสื่อสารและการพัฒนาด้านต่างๆทั้งส่วนบุคคลและสังคมพิมพ์รำไพ เปรมสมิทธ์ (2538) ให้ความหมาของสารสนเทศว่าเป็นข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงให้อยู่ในสภาพในการนำไปใช้ประโยชน์กับผู้ใช้เฉพาะราย ซึ่งเป็นการจัดการเพื่อให้ผู้ได้รับมีการเพิ่มพูนความรู้มาลี ล้ำสกุล (2549)ได้สรุปสารสนเทศ คือ ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้รูปแบบต่างๆ ที่มีการบันทึกประมวลผล หรือดำเนินการด้วยวิธีใดๆและสามารถนำไปเผยแพร่และใช้ประโยชน์ทั้งในส่วนบุคคลและสังคมฉะนั้นสรุปได้ว่า สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ที่ได้มีการจัดการไม่ว่าจะเป็นการคิดคำนวณประมวลผลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ ได้มีการคัดเลือกสรรและนำไปใช้ให้ทันต่อความต้องการในการใช้งาน และทันเวลา
3. ความสำคัญของสารสนเทศ       สารสนเทศเป็นปัจจัยที่สำคัญในโลกปัจจุบันนี้ ทั้งนี้เพราะการกำหนดแนวทางพัฒนา นโยบายทาง
ด้านการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ การศึกษา สังคม และวัฒนธรรมมีความสำคัญต่อการพัฒนามนุษย์และสังคมเพื่อเสริมสร้างความรู้อันที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตทั้งด้านการงานนั้น อีกทั้งเป็นแนวทางในการแก้ไข ปัญหา ช่วยในการวางแผน และช่วยตัดสินใจ อย่างเช่นหากผู้ใดที่รู้จักใฝ่เรียนรู้และได้รับสารสนเทศที่ดี มีคุณค่า และมีความทันสมัยอย่างต่อเนื่อง ย่อมมีชัยชนะเหนือผู้อื่น ประกอบกับความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต โดยเฉพาะการเข้าถึงสารสนเทศของยุคสังคมข่าวสารที่มีความเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร ในการทำงานและการเรียนรู้นั้นจะมีการเข้าถึงสารสนเทศโดยระบบเครือข่าย การติดต่อสื่อสารผ่านทาง     อิเล็กทรอนิกส์ ตลอดทั้งการแพร่กระจายข้อมูลข่าวสารบนระบบอินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์ต่างๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่เห็นการเปลี่ยนแปลงที่แพร่หลายในสังคมสารสนเทศที่เน้นคุณค่าของข้อมูล ข่าวสาร มีการจัดเก็บและการใช้ประโยชน์ มีการวิจัยพัฒนาเพื่อค้นหาข้อมูลข่าวสาร สาเหตุของสิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดข้อมูลข่าวสารใหม่ ๆ ที่มีความสำคัญต่อการวิจัยและการพัฒนาต่อไป และในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นองค์ประธาน ในพิธีเปิดการประชุมวิชาการ ของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ประจำปีพุทธศักราช 2536 ณ โรงแรมบางกอกพาเลส ทรงดำรัสถึงความสำคัญของสารสนเทศ ว่า “ในสังคมปัจจุบันนี้ สารนิเทศได้มีบทบาทต่อการดำเนินงานของทุกสาขาอาชีพ ทั้งในภาครัฐและเอกชน ให้ประสพผลสำเร็จและพัฒนาให้มีความเจริญก้าวหน้า เป็นสื่อที่ก่อให้เกิดความเข้าใจ อันดีระหว่างมวลมนุษย์ทั้งในระดับชาติ และนานาชาติประการสำคัญ คือ เป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ จริยธรรม สังคม วัฒนธรรม การเมือง การปกครอง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศสารนิเทศที่ถูกต้องสมบูรณ์และทันสมัยเท่านั้น ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ”(สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย, 2536) ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าความสำคัญของสารสนเทศมีต่อการทำงานในด้านต่างๆ ดังนี้ คือ (ชุติมา สัจจานันท์, 2530)รัฐบาลต้องการสารสนเทศที่ทันสมัยมาใช้ประกอบการวินิจฉัยสั่งการและวางแผนงานเพื่อพัฒนาประเทศวงการธุรกิจ สารสนเทศเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จในการดำเนินงานประจำวันของโลกธุรกิจ และวงการอาชีพช่วยในการตัดสินใจ การปฏิบัติงานประจำวันการวางแผนการคาดการณ์สำหรับอนาคตวงการศึกษาและวิจัย สารสนเทศเป็นปัจจัยพื้นฐาน ช่วยพัฒนาความรู้ ความเชี่ยวชาญทางวิชาการและเป็นปัจจัยพื้นฐานของการเรียนการสอน การค้นคว้าวิจัยของนักเรียน นักศึกษา ครูอาจารย์ นักวิชาการและนักวิจัย บุคคลทั่วไปต้องการสารสนเทศเพื่อใช้ในการพัฒนาอาชีพ การศึกษาในเรื่องต่างๆ ที่น่าสนใจและความบันเทิง เป็นต้น
4. ประเภทของสารสนเทศ       การจำแนกประเภทของสารสนเทศได้มีการจำแนกออกเป็น ตามแหล่งสารสนเทศและตามสื่อที่
จัดเก็บ ดังนี้ คือ (มาลี ล้ำสกุล, 2549)
1. สารสนเทศจำแนกตามแหล่งสารสนเทศ เป็นการจำแนกสารสนเทศตามการรวบรวมหรือ
จัดกระทำกับสารสนเทศ จำแนกได้ดังนี้
1.1 แหล่งปฐมภูมิ (Primary Source) คือ สารสนเทศที่ได้มาจากต้นแหล่งโดยตรง เป็น
สารสนเทศทางวิชาการ ผลของการศึกษาค้นคว้า วิจัย รายงาน การค้นพบทฤษฎีใหม่ ๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม ซึ่งนำไปสู่การยอมรับเป็นทฤษฎีใหม่ที่เชื่อถือได้ สารสนเทศประเภทนี้มักจะถูกถ่ายทอดออกมาในลักษณะของสิ่งพิมพ์ เช่น วารสาร รายงานการวิจัย รายงานการประชุมมและสัมมนาวิชาการ สิทธิบัตร เอกสารมาตรฐานต่าง ๆ ต้นฉบับตัวเขียน จดหมายเหตุ วิทยานิพนธ์ และการถ่ายทอดทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น วารสารอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
1.2 แหล่งทุติยภูมิ (Secondary Source) คือ สารสนเทศที่มีการรวบรวม เรียบเรียงขึ้นใหม่
จากแหล่งสารสนเทศปฐมภูมิ มักจะอยู่ในรูปแบบการสรุป ย่อเรื่อง จัดหมวดหมู่ ทำดรรชนีและสาระสังเขปเพื่อประโยชน์ในการเข้าถึงและสามารถใช้ข้อมูลได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ได้แก่ สื่ออ้างอิงประเภทต่าง ๆ วารสารที่มีการสรุปย่อและตีความ รวมถึงหนังสือ ตำรา ที่รวบรวมเนื้อหาวิชาการในการเรียนการสอน สารานุกรมพจนานุกรม รายงานสถิติต่าง ๆ ดรรชนีและสาระสังเขป
1.3 แหลง่ ตตยิ ภมูิ (Tertiary Source) คอื สารสนเทศทจี ดั ทำขึน้ เพือ่ ใช้ในการคน้ หาสารสนเทศ
จากแหล่งปฐมภูมและทุติยภูมิ จะไม่ได้ให้เนื้อหาสาระโดยตรง แต่จะมีประโยชน์ในการค้นหาสารสนเทศที่ให้ความรู้เฉพาะสาขาวิชา ได้แก่ บรรณานุกรม นามานุกรม ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์จึงได้มีการจัดเก็บบันทึกข้อมูลไว้ในสื่อคอมพิวเตอร์ มักจะออกนำเผยแพร่ในรูปของ CD-ROM ฐานข้อมูลออฟไลน์
2. สารสนเทศจำแนกตามสื่อที่จัดเก็บ เป็นการจำแนกสารสนเทศตามชนิดของสื่อที่ใช้ใน
การบันทึกข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ได้แก่ กระดาษ วัสดุย่อส่วน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อแสง
2.1 กระดาษ เป็นสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูล สารสนเทศ ที่ใช้ง่ายต่อการบันทีก รวมทั้งการเขียน
และการพิมพ์ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันจนถึงปัจจุบัน
2.2 วัสดุย่อส่วน เป็นสื่อที่ถูกสำเนาย่อส่วนลงบนแผ่นฟิล์มชนิดต่างๆ ทั้งที่เป็นม้วนและเป็น
แผ่น มีการจัดเรียงลำดับเนื้อหาตามต้น เช่น เอกสารจดหมายเหตุ หนังสือพิมพ์ เอกสารสำคัญ วิทยานิพนธ์เป็นต้น
2.3 สื่ออิเล็กทรอนิกหรือสื่อแม่เหล็ก เป็นวัสดุสังเคราะห์เคลือบด้วยสารแม่เหล็ก สามารถ
บันทึกและแก้ไขข้อมูลได้สะดวกทั้งข้อมูลที่เป็นแอนาล็อก และดิจิตอล เช่น เทปวีดิทัศน์ เทปบันทึกเสียงฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น
2.4 สื่อแสงหรือสื่อออปติก (Optical Media) เป็นสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลและอ่านข้อมูล
ด้วยแสงเลเซอร์ เช่น ซีดี-รอม ดีวิดี เป็นต้น ซึ่งมีความจุมากเป็นพิเศษ
5. คุณสมบัติของสารสนเทศ       ดังที่กล่าวมาแล้วนั้นว่าสารสนเทศมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินชิวิต การบริหารจัดการ และ
ใช้ในการวินิจฉัยสั่งการ รวมทั้งใช้ในการตัดสินใจในการทำงานและดำเนินชีวิต ฉะนั้นเพื่อประโยชน์ในการใช้งานสารสนเทศ จึงต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับคุณสมบัติที่ดีของสารสนเทศ ดังนี้ (มาลี ล้ำสกุล, 2549; จีราภรณ์ รักษาแก้ว, 2528; พิมพ์รำไพ เปรมสมิทธ์, 2535)
1) สามารถเข้าถึงได้ง่าย (Accessibility) หมายถึงความสะดวกรวดเร็วในการเข้าถึงสารสนเทศ
เพื่อนำสารสนเทศไปใช้ในการประกอบการตัดสินใจ รวมทั้งความรวดเร็วในการสืบค้น
2) มีความถูกต้อง (Accurate) สารสนเทศที่ดีต้องมีความเที่ยงตรง และเชื่อถือได้ โดยไม่มีความ
คาดเคลื่อนหรือมีความคาดเคลื่อนน้อยที่สุด ฉะนั้นสารสนเทศที่มีเนื้อหาที่ถูกต้องจึงควรพิสูจน์ได้ หรือระดับความถูกต้องเป็นที่ยอมรับ เช่น สารสนเทศที่ดีต้องไม่นำเอาข้อมูลที่ผิดพลากเข้าสู่ระบบ เพราะเมื่อนำไปประมวลผลแล้วจะทำให้ได้สารสนเทศที่ผิดพลาดตามไปด้วย เป็นต้น
3) มีความครบถ้วน (Completeness) สารสนเทศที่ดีต้องมีความสมบูรณ์ที่จะช่วยในการตัดสินใจ
เป็นไปด้วยความถูกต้อง เช่นการกำหนดราคาสินค้า หากได้สารสนเทศไม่ครบทุกด้านหรือเพียงขาดไปด้านใดด้านหนึ่งย่อมทำให้การคำนวณต้นทุนผิดพลาด ซึ่งการกำหนดราคาสินค้าก็ผิดพลาดไปด้วย
4) ความเหมาะสม (Appropriateness) พิจารณาถึงการได้รับสารสนเทศตรงกับความต้องการ
ของผู้ใช้มากน้อยเพียงใด ทั้งนี้หากสารสนเทศที่ได้รับนั้นไม่ตรงกับความต้องการก็ไม่เกิดประโยชน์ โดยเฉพาะการผลิตสารสนเทศต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ
5) ความทันต่อเวลา (Timeliness) สารสนเทศต้องได้มาให้ทันต่อเวลาในการใช้งาน หมายความ
ว่าสารสนเทศต้องมีระยะเวลาสั้น มีความรวดเร็วในการประมวลผล เพื่อผู้ใช้สารสนเทศจะได้รับสารสนเทศได้ทันเวลา
6) ความชัดเจน (Clarity) คือสารสนเทศที่ไม่ต้องมีการตีความ ไม่กำกวม ไม่คลุมเครือ และไม่ต้อง
หารคำตอบเพิ่มเติม
7) ความยืดหยุ่น (Flexibility) เป็นการนำสารสนเทศไปปรับใช้ได้ในหลายสถานณการณ์ หรือเป็น
สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้อย่างกว้างขวาง มากกว่าเป็นสารสนเทศที่เฉพาะบุคคล
8) ความสามารถในการพิสูจน์ได้ (Verifiability) โดยขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาของสารสนเทศว่าใคร
เป็นผู้รับผิดชอบในการผลิต หมายความว่าสารสนเทศนั้นต้องสามารถพิสูจน์หรอตรวสอบได้ว่าเป็นความจริง
9) ความซ้ำซ้อน (Redundancy) สารสนเทศที่ได้รับนั้น มีความซ้ำซ้อน หรือมีมากเกินความ
จำเป็นหรือไม่ ดงนั้นสารสนเทศที่ดีต้องไม่มีความซ้ำซ้อน
10) ความไม่ลำเอียง (Bias) ลักษณะสารสนเทศที่ผลิตขึ้น ไม่มีเจตนาในการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไข
สารสนเทศตามที่ได้กำหนดหรือหาข้อยุติไว้ล่วงหน้า
6. แหล่งสารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศ       แหล่งสารสนเทศ หมายถึงแหล่งที่เกิด แหล่งที่ผลิต หรือแหล่งที่จัดเก็บและให้บริการทรัพยากร
สารสนเทศ ในรูปแบบที่หลากหลายอย่างเป็นระบบและยังเป็นแหล่งที่ทำการอนุรักษ์ทรัพย์สินทางปัญญาโดยมีบทบาทหน้าที่ต่อสังคมเพื่อการบริการสารสนเทศและส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าแก่ผู้ต้องการสารสนเทศ
6 เอกสารประกอบการสอน - (0026 008)
ในระดับต่างๆ กัน โดยแบ่งได้ 4 แหล่งดังนี้คือ (รัถพร ซังธาดา, 2541; ชัชวาลย์ ประเสริฐวงษ์, 2544)
1) แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถาบัน หมายถึง สถาบันที่ตั้งขึ้นมาเพื่อ จัดหา รวบรวมวัสดุสารสนเทศ
ชนิดต่าง ๆ มาจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อให้บุคคลมาศึกษาหาความรู้จากวัสดุสารสนเทศเหล่านั้น ตัวอย่างเช่น ห้องสมุด ศูนย์สารสนเทศ สำนักวิทยบริการ พิพิธภัณฑ์ หอจดหมายเหตุ ศูนย์วัฒนธรรม และหอศิลป์เป็นต้น
2) แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่ คือ แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่จริง หรือสถานที่จำลอง ซึ่ง
ผู้ใช้สามารถไปศึกษาหารความรู้จากตัวสถานที่เหล่านั้น เช่น ปราสาทเขาพระวิหาร สวนส้ม ไร่นาสวนผสม
ฟาร์มจระเข้ และเมือโบราณ เป็นต้น แหล่งประเภทนี้มีประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าอย่างยิ่ง เพราะบุคคลจะได้รับประสบการณ์ตรง ทั้งยังเป็นแหล่งที่เข้าถึงได้ไม่ยากนัก ส่วนข้อด้อยของแหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่ คือ สถานที่บางแห่งอยู่ไกล การเดินทางไปสถานที่แห่งนั้นต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่ายเป็นเงินจำนวนมากในกรณีเช่นนี้ ผู้ใช้สารสนเทศอาจเปลี่ยนมาใช้สารสนเทศในรูปแบบของวัสดุตีพิมพ์หรือไม่ตีพิมพ์ ซึ่งมีอยู่ในแหล่งสารสนเทศประเภทสถาบันแทน
3) แหล่งสารสนเทศที่เป็นบุคคล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้รอบรู้ในสาขาวิชาต่างๆ ผู้เชี่ยวชาญบางสาขา
วิชาจะมีผลงานเป็นสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่ผู้ใช้สามารถค้นคว้าได้ด้วยตนเอง แต่ผู้เชี่ยวชาญบางคนก็ไม่มีผลงานในลักษณะของวัสดุสารสนเทศ ผู้ต้องการสารสนเทศจากผู้เชี่ยวชาญประเภทหลังนี้ต้องไปพบปะสนทนา หรือสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญนั้นโดยตรงจึงจะได้สารสนเทศที่ต้องการ เช่น นักบวช กวี ศิลปินนักปราชญ์ ราชบัณฑิต ภูมิปัญญาชาวบ้าน นักวิทยาศาสตร์
4) แหล่งสารสนเทศที่เป็นเหตุการณ์ ได้แก่กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น 14 ตุลา ในปี พ.ศ. 2516
พฤษาทมิฬ ในปี พ.ศ. 2535 เหตุการณ์ 911 หรือ การก่อการร้ายตึกเวิลด์เทรดเซนเตอร์ เมื่อวันที่ 11 กันยายน2544 การจัดกิจกรรม งานมหกรรม งานบุญประเพณี หรือการประชุมสัมมนาในเรื่องต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นแหล่งสารสนเทศในเรื่องนั้นๆ และจัดเป็นแหล่งสารสนเทศปฐมภูมิ
5) แหล่งสารสนเทมศสื่อมวลชน ซึ่งเป็นแหล่งที่มุ่งเผยแพร่สารสนเทศ ที่เป็นเหตุการณ์ ข่าวสาร โดย
เน้นความทันสมัยต่อเหตุการณ์ เป็นการถ่ายทอดในรูปของการกระจายเสียง ภาพและตัวอักษรโดยผ่านสื่อประเภทวิทยุ โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์
http://thaichamp.files.wordpress.com/2011/09/1_2_21.jpg6) แหล่งสารสนเทศที่เป็นอินเทอร์เน็ต เป็นแหล่งสารสนเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทั้งนี้เนื่องจากทั้งหน่วย
งานของภาครัฐ เอกชน รวมทั้งหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาค้นคว้า การค้าขาย และธุรกิจต่างๆได้มีการประชาสัมพันธ์ข้อมูล ข่าวสารของหน่วยงานของตนเป็นจำนวนมาก จึงทำให้อินเทอร์เน็ตมีข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศมากมาย ฉะนั้นอินเทอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งสารสนเทศที่มีความสำคัญต่อการศึกษาค้นคว้าทั้งนี้เพราะเป็นแหล่งสารสนเทศขนาดใหญ่มีการนำเสนอข้อมูล ข่าสาร สารสนเทศหลากหลายรูปแบบเช่นสื่อผสม เครือข่ายอินเทอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งสารสนเทศที่นำมาประยุกต์ใช้ในการศึกษาช่วยสนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้เรียน หรือผู้ต้องการสารสนเทศค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้จากอินเทอร์เน็ต เช่น ฐานข้อมูลห้องสมุด วารสารและจดหมายข่าวอิเล็กทรอนิกส์ บริการทางการศึกษาของมหาวิทยาลัย โปรแกรมคอมพิวเตอร์และข้อมูลข่าวสารต่างๆ โดยใช้บริการอินเทอร์เน็ต เช่น บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ บริการถ่ายโอนแฟ้ม
ข้อมูล การสนทนาทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การบริการเวิลด์ไวด์เว็บ และสังคมออนไลน์ เป็นต้น
การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน 7
7. ทรัพยากรสารสนเทศ (Information Resources or Information Materials)       ทรัพยากรสารสนเทศ หมายถึง วัสดุหรือสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ ความรู้ และ
ความคิดต่างๆ หรืออาจเรียกว่า วัสดุสารสนเทศ แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ ทรัพยากรตีพิมพ์ (Printed
Materials) ทรัพยากรไม่ตีพิมพ์ (Non printed Materials) และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Media)
7.1 ประเภทและชนิดของทรัพยากรสารสนเทศ
1) ทรัพยากรตีพิมพ์ (Printed Materials) เป็นสารสนเทศที่มีลักษณะเป็นแผ่น หรือรูปเล่มที่
ตีพิมพ์ในกระดาษ มีขนาดต่าง ๆ กัน และมีหลาหหลายรูปแบบ เช่น หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ จุลสาร
และกฤตภาค เป็นต้น เป็นการรับรู้สารสนเทศได้โดยตรงและง่าย ๆ จากทรัพยากรประเภทนี้ จำแนกได้ดังนี้(บุญถิ่น คิดไร, 2550)
- หนังสือ (Book) คือ สิ่งพิมพ์ที่เป็นรูปเล่ม มีการบันทึกสารสนเทศเป็นเรื่องราวที่ศึกษาค้นคว้า
วิจัยหรือคิดสร้างสรรค์ จนได้เนื้อหาละเอียดกว้างขวางลึกซึ้งต่อเนื่อง อาจแบ่งเนื้อหาออกเป็นตอน เป็นบทเป็นเล่ม เป็นชุด จัดขึ้นเมื่อไรก็ได้ตามแต่ความต้องการของผู้จัดพิมพ์ เช่น หนังสือสารคดี ตำรา แบบเรียนวิทยานิพนธ์ ใช้ในการอ่านเพื่อการศึกษาเรียนรู้ และนวนิยาย เรื่องสั้นที่ให้ความบันเทิง จรรโลงใจในการอ่าน
- วารสาร (Periodicals) คือสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง (Serial) ที่มีวาระการออกที่แน่นอน เช่น ราย
สัปดาห์ รายเดือน รายสามเดือน รายหกเดือน เป็นต้น โดยมีลักษณะส่วนประกอบที่สำคัญซึ่งแสดงลักษณะเฉพาะตัว คือ ชื่อวารสาร (Title) ปีที่ (Volume) ฉบับที่ (Number) เดือน ปีที่ออกวารสาร ราคา และเลขมาตรฐานสากลประจำสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง (International Standard Serial Number - ISSN)
3 ประเภท คือ วารสารวิชาการ (Journal) ให้เนื้อหาสารระที่เน้นวิชาการด้านต่างๆ ใช้อ่านเพื่อการศึกษา
ค้นคว้าในสาขาวิชานั้นๆ วารสารบันเทิง (Magazine) เนื้อหาสาระส่วนใหญ่จะเน้นวิชาการ และ วารสาร
เชิงวิพากษ์วิจารณ์ จะเป็นการนำเสนอสรุปข่าวสำคัญ เช่นข่าวการเมือง เศรษฐกิจ และมีบทวิพากษ์วิจารณ์เนื้อหา ความเป็นมา เบื้องหน้าเบื้องหลัง เหตุการณ์ บุคคล สถานที่ที่เกี่ยวข้อง
ฉะนั้นวารสารจะเป็นทรัพยากรที่ให้สารสนเทศในการค้นคว้าและติดตามเรื่องราว ประเด็นต่างๆ
ทัศนะความคิดเห็นตลอดจนความรู้ที่ทันสมัย
- หนังสือพิมพ์ (Newspapers) เป็นสิ่งพิมพ์ที่ให้สารสนเทศรายวัน เป็นการรายงานข่าวเเหตุ
การณ์ประจำวัน ความเปลี่ยนแปลง ความเป็นไปของสังคมนั้นๆ ให้เป็นที่ทราบโดยทั่วถึงและรวดเร็วที่สุด
นอกจากนั้นแล้วยังมีคอลัมน์ข่าวเชิงวิจารณ์เสนอความคิดชี้ชวน โต้แย้ง หรือวิธีแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่าง
หลากหลายกว้างขวางทั้งด้านวิชาการและเรื่องเริงรมย์
- จุลสาร (Pamphlet) เป็นสิ่งพิมพ์ขนาดเล็กที่มีเนื้อหาเฉพาะด้าน อาจจะเป็นกระดาษชิ้นเล็ก
ๆ เพียงแผ่นเดียว หรือเป็นแผ่นพับ หรือเป็นรูปเล่มเล็ก ๆ บาง ๆ หรือเป็นการประชาสัมพันธ์เรื่องใดเรื่อง
หนึ่งแก่ชุมชน เนื้อหาจะมีความทันสมัยเพียงชั่วเวลาหนึ่ง
- กฤตภาค (Clipping) เป็นสิ่งพิมพ์ที่นำเรื่องราว สารสนเทศที่สำคัญจากหนังสือพิมพ์ วารสาร
หรือแผ่นพับ นำมาตัดแล้วผนึกลงบนกระดาษแล้วรวบรวมไว้ให้ผู้ช้ได้ใช้ประโยชน์ต่อไป มีการจัดเก็บใส่แฟ้มแยกเป็นเรื่องๆ ด้วยปัจจุบันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ตัด คัดลอกทั้งเนื้อหาและภาพในสิ่งพิมพ์ใดๆ ตามต้องการ มาเก็บไว้ในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ซึ่งสามารถจัด