วันพุธที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 8 การใช้สารสนเทศตามกฎหมายและจริยธรรม


บทที่ 8
การใช้สารสนเทศตามกฎหมายและจริยธรรม


1. บทนำ
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ การรับวัฒนธรรมที่แฝงเข้ามา
กับแหล่งข่าวสารข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรมของมนุษย์ โดยเฉพาะบนเครือข่ายสารสนเทศซึ่งเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงกันทุกมุมโลก การเปิดรับข่าวสารที่มาจากแหล่งข้อมูลดังกล่าวจึงขึ้นอยู่กับการตัดสินใจ และทัศนคติส่วนบุคคล การรับข้อมูลข่าว สารที่ไม่เหมาะสมส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดยเฉพาะ พฤติกรรมไม่พึงประสงค์ และมีแนวโน้มทำให้เกิดอาชญากรรม ปัญหาทางศีลธรรมและจริยธรรม เช่น อาชญากรรมบนเครือข่าย หรือ การกระทำผิดกฎหมายโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ อาชญากรรม 6 ประเภท ได้แก่ จารกรรมข้อมูลทางราชการทหารและข้อมูลทางราชการลับ จากกรรมทรัพย์สินทางปัญญาและข้อมูลด้านธุรกรรม จารกรรมเงิน และทำให้เกิดการติดขัดทางด้านพาณิชย์ การโต้ตอบเพื่อการ ล้างแค้น การก่อการร้าย เช่น ทำลายข้อมูล ก่อกวนการทำงานของ ระบบ และเสนอข้อมูลที่ผิดและการเข้าสู่ระบบเพียงเพื่อแสดงให้เห็นว่ามีความสามารถทำได้


2. ผลกระทบองเทคโนโลยีสารสนเทศ
การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศจนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างกว่างขวางกลายเป็นยุคแห่ง
เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือยุคข้อมูลข่าวสาร ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ชาติอย่าง มหาศาลนั้นหมายถึงก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงอะไรก็ตามย่อมมีผลกระทบต่อบุคคล องค์กร หรือสังคม


3. ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
เราสามารถพิจารณาปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จากการวิเคราะห์ทัศนคติต่อ
เทคโนโลยีสารสนเทศ ในมุมมองที่แตกต่างกัน


4. แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
ดังที่กล่าวมาบ้างแล้วว่าเราไม่สารมารถถอยห่างจากเทคโนโลยีสารสนเทศได้ ยิ่งนับวันเทคโนโลยี
สานสนเทศ จะเข้ามามีบทบาทในชีวิตมายิ่งขึ้น ทุกวันนี้มนุษย์ได้แปลงปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เป็นปัญหาของตน ให้มาอยู่ในรูปแบบที่เป็นปัจจัยนำเข้าของระบบคอมพิวเตอร์แล้วเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งข้อมูลปัจจัยนำเข้าในลักษณะต่าง ๆ เหล่านั้นจะถูกประมวลผลให้เป็นสารสนเทศที่มนุษย์นำไปสร้างเป็นความรู้เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป อย่างไรก็ตามในสังคมทุกสังคมต่างก็มีคนทีและคนชั่วปะปนกัน เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและกานสื่อสาร เป็นประโยชน์ได้มากเพียงใด ก็สามารถถูกกำหนดหรือสร้างให้เป็นโทษได้มากเพียงนั้น การป้องกันภัยและการแก้ปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีสารสนเทศจะเป็นเรื่องที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากสมาชิกในสังคมอย่าจริงจัง ในที่นี้จะเสนอแนวทางบางประการที่น่าจะช่วยลดปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศลงได้บ้าง


5. การใช้กฎหมายเพื่อแก้ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
ในการแก้ไขปัญหาสังคมโดยทั่วไปนั้น การเสริมสร้างจริยธรรมในหมู่สมาชิกในสังคมเป็นทางแก้
ปัญหาที่ถูกต้องและยั่งยืนที่สุด แต่ความเป็นจริงนั้นเราไม่สามารถสร้างจริยธรรมให้กับปัจเจกบุคคลโดยทั่วถึงได้ ดังนั้นสังคมจึงได้สร้างกลไกใหม่ขึ้นไว้บังคับใช้ในรูปแบบของวัฒนธรรมประเพณีทีดีงาม อย่างไรก็ตามเมื่อสังคมมีขนาดใหญ่ขึ้น รูปแบบของปัญหาสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น จึงมีความจำเป็นจะต้องตราเป็นกฎ ระเบียบหรือข้อบังคับ ในลักษณะต่างๆ รวมถึงกฎหมายด้วย ในกรณีของเทคโนโลยีสารสนเทศนี้ก็เช่นกัน การเกิดขึ้นของอินเทอร์เน็ตทำให้รูปแบบของปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศมีความหลากหลายและยุ่งยากมากขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นที่ต้องมีกลไกในรูปของกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศไว้ใช้บังคับ ในประเทศไทยก็ได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ โดยได้มีการปฏิรูปกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่ระบุว่า “รัฐจะต้อง ... พัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภคตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ”


6. กรณีศึกษาอาชญากรรมและกฎหมายไอที (http://www.lawyerthai.com/articles/it/006.php)
        กรณีที่ 1 : นายจ้างหรือผู้บังคับบัญชา เปิด e-mail ลูกจ้างหรือผู้ใต้บังคับบัญชาอ่านได้หรือไม่?
        ในการใช้งาน e-mail ภายในองค์กรนั้น จะมีคำถามว่า ถ้าองค์กรนั้น ๆ มีการกำหนด User name
และ Password ให้กับคนในองค์กร แล้วถ้านายจ้างหรือผู้บังคับบัญชารู้ User name และ Password ของคนในองค์กรแล้ว นายจ้างหรือผู้บังคับบัญชามีสามารถเปิดอ่าน e-mail ของลูกจ้างได้หรือไม่ ถ้าในประเทศสหรัฐอเมริกา มีกฎหมายกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า นายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาขององค์กรนั้นๆ สามารถเปิดดูและตรวจสอบ e-mail ของลูกจ้างได้รวมทั้งสามารถดูแฟ้มข้อมูลต่างๆ ในฮาร์ดดิสก์คอมพิวเตอร์ของบริษัทได้ หากเป็น e-mail ที่เป็นขององค์กร เพราะเป็น e-mail สำหรับการปฏิบัติงาน แต่หากเป็น e-mail อื่นที่ไม่ใช่ขององค์กร นายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาไม่ได้รับอนุญาตให้เปิดอ่าน หากนายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาละเมิดสิทธิ์ ลูกจ้างสมารถฟ้องร้องนายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาให้ชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่งได้








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น