วันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2556

บทที่ 2 บทบาทสารสนเทศกับสังคม

บทที่ 2 บทบาทสารสนเทศกับสังคม


1. บทนำ
ปลายศตวรรษที่ 20 โลกได้เข้าสู่ยุคของการปฏิวัติด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information
Technology Revolution) มีการนำทรัพยากรสารสนเทศมาใช้งานอย่างกว้างขวาง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกระบวนการดำเนินงานซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร ทุกองค์กรนำกลไกการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ มีการนำเสนอข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบเพื่อควบคุมการปฏิบัติงาน มีการติดต่อสื่อสารและใช้คอมพิวเตอร์ในการตัดสินใจ รวมถึงการประมวลผลด้านต่างๆ
ในช่วงต้นศตวรรษที่ 21 แนวโน้มขององค์กรต่างๆ เริ่มมีการปรับฐานการลงทุนของภาคธุรกิจและ
อุตสาหกรรม ประกอบกับการปรับกระบวนการจัดการของภาครัฐบนฐานของความรู้เทคโนโลยีและการ
สื่อสารซึ่งทั้งหมดนี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว พร้อมกันนี้ทั่วโลกได้เล็งเห็นความสำ�คัญของการสร้างฐานความรู้ในสังคมท่ามกลางกระแสโลกาภิวัฒน์ รวมไปถึงการส่งเสริมให้สังคมมีนวัตกรรมเป็นของตนเอง เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันบนเวทีโลกและการเปิดโอกาสให้ประเทศต่างๆ เตรียมความพร้อมที่จะก้าวกระโดดในกระบวนการพัฒนา (Anthony. 2006)
การปฏิวัติด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้นำความเปลี่ยนแปลงมาสู่สังคมอย่างมาก เทคโนโลยีและ
การสื่อสารเข้ามามีบทบาทต่อการดำรงชีวิตและวิถีชีวิตของมนุษย์ในสังคม ทั้งด้านความเป็นอยู่ การสื่อสารการทำงาน การคมนาคมและขนส่ง ธุรกิจและอุตสาหกรรม การแพทย์ วัฒนธรรม และการศึกษา (C. andHuchinson. 2000)ในปัจจุบันนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นทำให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และการสื่อสารได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและมีขนาดเล็กลง หรือที่เรียกว่า “นาโนเทคโนโลยี (Nanotechnology)” ทำให้การสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างฉับพลันผ่านทางด่วนสารสนเทศ (Information Superhighway)เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้หลายพันล้านคนทั่วโลกและเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งช่วยให้การเข้าถึงสารสนเทศและบริการต่าง ๆ เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็วและไร้พรมแดน โดยอาจเรียกได้ว่าเป็น“สังคมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Society)” หรือ “ชุมชนอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Community)”(พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ. 2553)


2. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบัน
ในภาวะปัจจุบันนั้นสารสนเทศได้กลายเป็นปัจจัยพื้นฐานปัจจัยที่ห้า เพิ่มจากปัจจัยสี่ประการที่
มนุษย์เราขาดเสียมิได้ในการดำรงชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นสารสนเทศที่จำเป็น ในการประกอบธุรกิจ ในการค้าขาย การผลิตสินค้า และบริการ หรือการให้บริการสังคม การจัดการทรัพยากรของชาติ การบริหารและปกครอง จนถึงเรื่องเบาๆ เรื่องไร้สาระบ้าง เช่น สภากาแฟที่สามารถพบได้ทุกแห่งหนในสังคม เรื่องสาระบันเทิงในยามพักผ่อน ไปจนถึงเรื่องความเป็นความตาย เช่น ข่าวอุทกภัย วาตภัย หรือการทำรัฐประหารและปฏิวัติ เป็นต้นในความคิดเห็นของกลุ่มบุคคลต่างๆ ตั้งแต่นักวิชาการ นักธุรกิจ นักสังคมศาสตร์นักเศรษฐศาสตร์จนกระทั่งผู้นำต่างๆ ในโลก ดังเช่น ประธานาธิบดี Bill Clinton และรองประธานาธิบดี Al Gore ของสหรัฐอเมริกา สารสนเทศเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในปัจจุบัน และในยุคสังคมสารสนเทศแห่งศตวรรษที่ 21 สารสนเทศจะกลายเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดเหนือสิ่งอื่นใด กล่าวกันสั้นๆ สารสนเทศกำลังจะกลายเป็นฐานแห่งอำนาจอันแท้จริงในอนาคต ทั้งในทางเศรษฐกิจ และทางการเมืองในสมัยสังคมเกษตรนั้น ปัจจัยพื้นฐานในการผลิตที่สำคัญ ได้แก่ ที่ดิน แรงงาน และทุนทรัพย์ ต่อมาในสังคมอุตสาหกรรม การผลิตต้องพึ่งพาปัจจัยพื้นฐานเพิ่มเติม ได้แก่ วัสดุพลังงาน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสารสนเทศ สังคมเกษตรและสังคมอุตสาหกรรมต้องพึ่งพาการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด อันได้แก่ ที่ดินพลังงาน และวัสดุ เป็นอย่างมาก และผลของการใช้ทรัพยากรเหล่านั้นอย่างฟุ่มเฟือยและขาดความระมัดระวังก็ได้สร้างปัญหาสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงมาก ซึ่งกำลังคุกคามโลกรวมทั้งประเทศไทย ตั้งแต่ปัญหาการแปรปรวนของสภาพดินฟ้าอากาศ ภัยธรรมชาติที่นับวันจะเพิ่มความถี่และรุนแรงขึ้น ปัญหาการบ่อนทำลายความสมดุลทางนิเวศวิทยาทั้งป่าดงดิบ ป่าชายเลน ป่าต้น้ำลำธาร ความแห้งแล้ง อากาศเป็นพิษ แม่น้ำลำคลองที่เต็ม
ไปด้วยสารพิษเจือปน ตลอดจนถึงปัญหาวิกฤติทางจราจรและภัยจากควันพิษในมหานครทุกแห่งทั่วโลก
ในทางตรงกันข้ามขบวนการผลิต การเก็บ และถ่ายทอดสารสนเทศ อาศัยการใช้วัสดุและพลังงาน
น้อยมาก และไม่มีผลเสียต่อภาวะแวดล้อมหรือมีเพียงเล็กน้อยมาก ยิ่งกว่านั้นสารสนเทศจะสามารถช่วย
ให้กิจกรรมการผลิตและการบริการต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น สามารถช่วยให้การผลิตทาง
อุตสาหกรรมใช้วัตถุดิบ และพลังงานน้อยลง มีมลภาวะน้อยลง แต่สินค้ามีคุณภาพดีขึ้นคงทนมากขึ้น ปัญหาวิกฤติทางจราจรในบางด้านก็สามารถผ่อนปรนได้ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น ในการช่วยติดต่อสื่อสารทางธุรกิจต่างๆ โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางด้วยตนเองดังเช่นแต่ก่อน จึงอาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศจะมีส่วนอย่างมาก ในการนำสังคม สู่วิวัฒนาการอีกระดับหนึ่ง ที่อาจเรียกได้ว่าเป็น สังคมสารสนเทศ อันเป็นสังคมที่พึงปรารถนาและยั่งยืนยิ่งขึ้นนั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าสังคมต่างๆ ในโลก ต่างจะต้องก้าวสู่สังคมสารสนเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่เร็วก็ช้า และนั่นหมายความว่าสังคมจะต้องพึ่งพาเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างแน่นอน ไม่ว่าเราจะยอมรับหรือไม่ก็ตาม มิใช่เพียงแต่เพื่อสร้างขีดความสามารถในเชิงแข่งขันในสนามการค้าระหว่างประเทศ แต่เพื่อความอยู่รอดของมนุษยชาติ และเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอีกต่างหากด้วย นอกจากการเป็นเทคโนโลยีที่ไม่ทำลายธรรมชาติหรือสร้างมลภาวะ (ในตัวของมันเอง) ต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว คุณสมบัติโดดเด่นอื่น ๆ ที่ทำให้มันกลายเป็นเทคโนโลยี ยุทธศาสตร์สำคัญแห่งยุคปัจจุบันและในอนาคตก็คือ ความสามารถในการเพิ่มประสิทธิภาพและสมรรถภาพในเกือบทุกๆ กิจกรรม อาทิโดย

1) การลดต้นทุนหรือค่าใช้จ่าย
2) การเพิ่มคุณภาพของงาน
3) การสร้างกระบวนการหรือกรรมวิธีใหม่ๆ
4) การสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ขึ้น
ฉะนั้น โอกาสและขอบเขตการนำ เทคโนโลยีนี้มาใช้ จึงมีหลากหลายในเกือบทุกๆ กิจกรรมก็ว่าได้
ไม่ว่าจะเป็นการปกครอง การให้บริการสังคม การผลิตทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ รวมถึงการ
ค้าทั้งภายในและระหว่างประเทศอีกด้วย โดยพอสรุปได้ดังต่อไปนี้
ภาคสังคม การบริหารและปกครอง การให้บริการพื้นฐานของรัฐ การบริการสาธารณสุข การบริการ
การศึกษา การให้บริการข้อมูลและสาระบันเทิง การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
การบรรเทาสาธารณภัย การพยากรณ์อากาศและอุตุนิยม ฯลฯ
ภาคเศรษฐกิจ การเกษตร การป่าไม้ การประมง การสำรวจและขุดเจาะนำ้มันและก๊าซธรรมชาติ
การสำรวจแร่และทรัพยากรธรรมชาติทั้งบนและใต้ผิวโลก การก่อสร้าง การคมนาคมทั้งทางบก น้ำ และ
อากาศ การค้าภายในและระหว่างประเทศ อุตสาหกรรมการผลิต อุตสาหกรรมบริการ อาทิ ธุรกิจการท่อง
เที่ยว การเงิน การธนาคาร การขนส่ง และการประกันภัย ฯลฯ
ในปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของไทยมีความผูกพันอย่างแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นกับสังคมโลก ประมาณ
การว่า ในปี พ.ศ. 2536 การส่งออกมีมูลค่าขยายตัวถึงร้อยละ 12.8 ที่ 920 พันล้านบาท ขณะที่การนำเข้ามีอัตราขยายตัวถึงร้อยละ 12.7 ด้วยมูลค่า 1,150 พันล้านบาท การส่งออกที่มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 13.2 ของผลผลิตมวลรวมของประเทศในปี พ.ศ. 2515 ได้เติบโตอย่างต่อเนื่องจนมีขนาดเป็นร้อยละ 37.9 ในปี พ.ศ.2535 ย่อมชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการค้าระหว่างประเทศ และในทำนองเดียวกันของ เทคโนโลยีกลุ่มนี้ต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ


3. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาสังคม
เทคโนโลยีสารสนเทศจัดว่ามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศของทุกประเทศก็ว่าได้ ไม่
ว่าจะเป็น ประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือประเทศที่กำลังพัฒนา เพราะแม้ว่าเทคโนโลยีนี้จะยังไม่มีบทบาทโดดเด่นในการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมและการค้าในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมแต่ก็มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในด้านการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้านการจัดให้บริการสังคมพื้นฐาน (การศึกษาและ การสาธารณสุข ฯลฯ) ในการบริหารประเทศ และในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
ในปัจจุบันอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศได้กลายเป็นอุตสาหกรรมผลิตที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
มีการประมาณการว่าตลาดโลกสำหรับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ โทรคมนาคม และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ จะมีขนาด 1,600 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 1994 ด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ยถึงร้อยละ 20 ต่อปีการลงทุนในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดศักยภาพในการแข่งขัน จึงย่อมส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อเศรษฐกิจของนานาประเทศ จากผลการศึกษาใน 11 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกซึ่งมีทั้งประเทศที่ถือว่าพัฒนาแล้ว พัฒนาใหม่ และกำลังพัฒนา
ในช่วงทศวรรษที่แล้ว หลายประเทศมีความวิตกว่าเทคโนโลยีนี้จะลดการว่าจ้างงาน และทำให้เกิด
ปัญหาการตกงานอย่างรุนแรง อย่างไรก็ตาม ประสบการณ์ของประเทศที่พัฒนาแล้ว ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีนี้ในการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและในการสร้างกิจกรรมใหม่ๆ จนกล่าวได้ว่าในทางสังคมแล้ว เทคโนโลยีนี้จะช่วยเพิ่มการจ้างแรงงานโดยรวมมากกว่าจะลดตามที่เข้าใจกัน ปัจจุบันประเทศกำลังพัฒนาต่างเริ่มตระหนักถึง บทบาทของเทคโนโลยีนี้ต่อการพัฒนาสังคมตามประเทศที่พัฒนาแล้ว และเล็งเห็นว่ามันสามารถจะก่อเกิดประโยชน์ต่างๆ นานา เช่น ทำให้การบริการที่หน่วยงานต่างๆ ของรัฐให้แก่ประชาชนมีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงขึ้นแต่ต้นทุนต่ำลง ลดต้นทุนการบริการสาธารณสุขขณะที่เพิ่มปริมาณและคุณภาพของบริการสู่ประชาชนที่ยังไม่ได้รับบริการอย่างทั่วถึง และ สร้างโอกาสให้ประชาชนทุกหมู่เหล่าและทุกวัยได้รับการศึกษาและฝึกอบรมอย่างกว้างขวาง เป็นต้น




4. สารสนเทศกับบุคคล
การพัฒนาของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้เกิดความต้องการและการใช้สารสนเทศของบุคคลเพิ่ม
มากขึ้น สารสนเทศมีการใช้สารสนเทศเพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจในเรื่องที่ตนเกี่ยวข้อง และนำความรู้ความเข้าใจมาตัดสินใจแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็ว ทันเวลากับสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม เป็นเรื่องที่มีความสำคัญไม่จำกัดเฉพาะนิสิตนักศึกษา นักวิชาการ แต่มีความสำคัญกับบุคคลในทุกสาขาอาชีพและทุกวัยเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเรื่องใกล้ชิดและเกี่ยวพันกับชีวิตประจำวันของมนุษย์ เช่น การถอนเงินอัตโนมัติ (ATM: Automatic Teller Machine) ธนาคารอิเล็กทรอนิคส์ (Electronic Banking) การซื้อขายสินค้าทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิคส์ (e-Commerce) การประชุมทางไกล (Tele-Conference) การศึกษาทางไกล (Tele-Education) ระบบห้องสมุดดิจิตอล (Digital Library) การเข้าถึงบริการและสารสนเทศต่างๆผ่านระบบโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น


5. สารสนเทศกับสังคม
สารสนเทศนอกจากมีความสำคัญต่อตัวบุคคลดังที่กล่าวมาแล้ว ยังมีความสำคัญต่อสังคมในด้าน
ต่างๆ (ธนู บุญญานุวัตร. 2550) ได้แก่ ด้านการศึกษา ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ และด้านวัฒนธรรม
5.1 ด้านการศึกษา
การจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยครูผู้สอนทำหน้าที่เป็นผู้แนะนำ
ช่วยเหลือ และกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง ส่งผลให้สารสนเทศมีความสำคัญต่อการเรียนการสอนในทุกระดับการศึกษา สารสนเทศที่ดีมีคุณค่าและทันสมัย จะช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การศึกษาค้นคว้าวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ๆ จำเป็นต้องใช้สารสนเทศที่มีอยู่อย่างสมบูรณ์ถูกต้องจากหลายแขนงวิชามาพัฒนาให้เกิดความรู้ใหม่ขึ้นมาได้
5.2 ด้านสังคม
สารสนเทศช่วยพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ ช่วยพัฒนาบุคลิกภาพส่วนบุคคลให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
อย่างมีความสุข อีกทั้งช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค เกิดการประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่นำมาซึ่งความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิต เราใช้สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ทั้งการประกอบอาชีพการป้องกันและแก้ไขปัญหาชีวิต สารสนเทศช่วยขยายโลกทัศน์ของผู้ได้รับให้กว้างขวาง สร้างความเข้าใจอันดีระหว่างมนุษยชาติ ช่วยลดความขัดแย้ง ทำให้อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข

5.3 ด้านเศรษฐกิจ
สารสนเทศมีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่ที่เรียกว่า เศรษฐกิจบนฐานความรู้
(Knowledge-based Economy) หน่วยงานหรือผู้ประกอบการธุรกิจให้ความสำคัญกับ “การจัดการความ
รู้” (knowledge management) เพื่อรักษาองค์ความรู้ขององค์กรไว้ สารสนเทศด้านธุรกิจการค้าจึงถือ
เป็นต้นทุนการผลิตที่สำคัญในการแข่งขัน ทั้งนี้เพราะสารสนเทศช่วยประหยัดเวลาในการผลิต ลดขั้นตอนการลองผิดลองถูก อีกทั้งช่วยให้องค์กรได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ได้ตามความต้องการของตลาด
5.4 ด้านวัฒนธรรม
สารสนเทศเป็นรากฐานที่จำเป็นสำหรับความก้าวหน้าของอารยธรรม สารสนเทศช่วยสืบทอด ค่านิยม
ทัศนคติ ศิลปะ และวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์อันดีงามของชาติ ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจ ความสามัคคีความมั่นคงในชาติเมื่อตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นของสารสนเทศแล้ว ผู้ใช้สารสนเทศต้องตระหนักว่าการที่จะนำสารสนเทศมาใช้นั้น ต้องอาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารเพื่อสื่อสารสารสนเทศ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่จะตัดขาดจากกันไม่ได้ โดยเรียกว่าเป็น “เทคโนโลยีสารสนเทศ” นั่นเองเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีเดียวที่มีบทบาทสำคัญต่อทุกสาขาอาชีพ และส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมได้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสื่อสารไร้พรมแดนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทำให้ได้รับสารสนเทศจากทั่วโลก การสื่อสารกับผู้คนจากทั่วทุกมุมโลกทำได้อย่างเป็นปัจจุบัน ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมจึงมีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่เป็นสังคมโลก กล่าวคือมีแนวโน้มเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งหมด ในขณะที่ทุกแขนงวิชาและอาชีพก็จำเป็นต้องปรับปรุงกลไกในวิชาชีพให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวด้วยเช่นเดียวกัน


6. บทบาทเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา
ขณะนี้เกือบทุกประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาคุณภาพ
ประชาชนโดยเน้นที่การศึกษา เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกากำหนดนโยบายว่าในปี 2000 ทุกโรงเรียนจะต้องมีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยหนึ่งเครื่องต่อนักเรียนห้าคน และทุกห้องเรียนต้องมีคอมพิวเตอร์ที่ต่ออินเทอร์เน็ตได้ ส่วนสิงคโปร์ก็ประกาศนโยบายว่าโรงเรียนต้องมีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยหนึ่งเครื่องต่อนักเรียนสองคนในปี2002 จะเห็นได้ว่าหลายประเทศรีบเร่งในการนำคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อการศึกษาอย่างกว้างขวาง โดยเน้นเรื่องการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้เป็นระบบกลางที่มีราคาถูกเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชนวิธีการดังกล่าวจะอาศัยแหล่งความรู้และสารสนเทศจากทั่วโลก ซึ่งส่งผลต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน เพราะการเรียนรู้ตลอดชีวิตมีความจำเป็นต่อทุกคน ทั้งต่อการพัฒนาตนเองนำไปสู่การพัฒนาการงานอาชีพ และการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น คนจะพัฒนาตนเองได้ต้องแสวงหาความรู้อยู่เสมอ ถ้ามีแหล่งความรู้ให้ศึกษาค้นคว้า มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งทอดความรู้ มีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ให้เข้า
ถึงความรู้ และรู้จักวิธีแสงหาความรู้ เขาก็จะเป็นผู้เรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิต ดังนั้นทุกประเทศในโลกจึงปรารถนาจะเห็นคนของตัวเองได้เป็นผู้เรียนรู้อยู่เสมอตลอดชีวิต ความคิดนี้ได้ก้าวไปอีกขั้นหนึ่งสู่ความคิดที่ว่า ถ้าช่วยกันทำให้ทุกส่วนของสังคมมีส่วนร่วมสนับสนุน สังคมก็จะเป็น “สังคมแห่งการเรียนรู้” (LearningSociety) เพราะทุกส่วนทุกฝ่ายสามารถเป็นได้ทั้งผู้ให้และผู้รับความรู้ ความคิดเรื่องสังคมแห่งการเรียนรู้เริ่มเป็นที่กล่าวถึงและยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นความจำ�เป็นต่อการพัฒนาประเทศเป็นอย่างยิ่งตัวอย่างเช่น ประเทศสิงคโปร์ เป็นประเทศที่เป็นเกาะเล็กๆ มีประชากรสามล้านคนเศษ เป็น
ประเทศที่อาจกล่าวได้ว่าเป็นทั้งเมืองและประเทศ ในขณะเดียวกันสิงคโปร์ให้ความสำ�คัญกับการศึกษามากเพราะถือว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เท่านั้นที่จะช่วยยกระดับการพัฒนาประเทศแข่งกับประเทศอื่นๆ ในโลกได้ และได้ประกาศตัวเป็น “นครแห่งการเรียนรู้ (Learning Metropolis)”
http://202.143.157.36/userfiles/p1.jpg

สำหรับประเทศไทยได้ระบุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554)
เป็นแผนที่ต่อเนื่องมาจากแผนฯ ฉบับที่ 9 ที่เน้นคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนามีหลักการสำคัญคือ เป็น
ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่เน้นเป้าหมายเชิงคุณภาพ และบริบทการเปลี่ยนแปลงการขยายโอกาสชุมชน/บุคคลสู่ความรู้และบริการพื้นฐานของรัฐ เป็นแผนภาคีร่วมพัฒนา (Collaborative Plan) เน้นเป้าหมายสู่สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน และเชื่อมโยงแผนชุมชนกับแผนชาติ เนื่องจากที่ผ่านมาพบว่าความสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมสังคมมีความเสี่ยงสูง ภูมิคุ้มกันลดลงทรัพยากรสิ่งแวดล้อมมีข้อจำกัดมากขึ้นและใช้ทุนที่มีอยู่ในเชิงปริมาณมากกว่าคุณภาพ และบริบทการเปลี่ยนแปลงต่อการปรับตัวของประเทศที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงต่อ 5 บริบทการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการบริโภค ประสิทธิภาพการใช้พลังงานและพลังงานทางเลือกสังคมของผู้สูงอายุ ปัญหาการออม และผลิตภาพในปัจจุบันประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยได้นำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเพิ่มมากขึ้น เนื่องด้วยคุณลักษณะที่เอื้อต่อการศึกษา ทำให้เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญต่อการส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชนคนไทยในหลายมิติ (ไพรัช และ พิเชฐ. 2542) ดังนี้เทคโนโลยีลดความเหลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษาซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญในการตอบสนองนโยบายการศึกษาที่เป็น “การศึกษาเพื่อประชาชนทุกคน (Education for All)” อันเป็นการสร้างความเท่าเทียมทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเท่าเทียมทางการศึกษา เช่น การติดตั้งจานดาวเทียมในโรงเรียนในชนบทห่างไกลเพื่อให้นักเรียนได้รับโอกาสในการศึกษาที่เท่าเทียมกับนักเรียนในพื้นที่อื่นๆ การติดตั้งเครือข่ายอินเทอเน็ตทำให้ครูและนักเรียนสามารถเข้าถึงสารสนเทศแหล่งข้อมูลจากทั่วโลก นอกจากนี้เทคโนโลยีสารสนเทศยังช่วยให้ผู้พิการมีโอกาสรับการศึกษาและการประกอบอาชีพในสิ่งแวดล้อมของคนปกติ


https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgPU7KnrJr1YvrJydfkDF7itrryCNo3W4RKaY8kYPIi-AYonsSZdCZou6bn9T84INg3cbaQrgRn0PzjjL51tSuBfts9PG1q9BJBRkiXUcFt2i2jN1o5CbbF2J9Or6RABah_ET3JfLkm3D8/s1600/ICT+%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25B8%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%25A5.jpg

ภาพประกอบ 2.2 เทคโนโลยีสารสนเทศกับผู้พิการ

เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา กล่าวคือนวัตกรรมทางการศึกษา
ในปัจจุบันเป็นผลสืบเนื่องจาการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น การผลิตสื่อการศึกษาในรูปแบบซีดีรอมช่วยให้นักเรียนที่เรียนรู้ช้าได้มีโอกาสเรียนรู้ตามศักยภาพของแต่ละคน การนำเสนอสื่อการศึกษาในปัจจุบันยังมีความหลากหลาย โดยมีการนำเสนอด้วยเสียง ข้อความ ภาพ และภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเอื้อต่อการเรียนรู้และกระตุ้นความสนใจในการศึกษาของผู้เรียนทุกวัย นอกจากนี้เทคโนโลยีเสมือนจริง (Virtual Reality)ยังทำช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษาในวิชาชีพที่ภาคปฏิบัติมีความสำคัญ เช่น การฝึกนักบิน การสอนภาคปฏิบัติแก่นักนิสิคลินิก เป็นต้น เทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนต่อการฝึกอบรม การประชุมและการติดต่อสื่อสาร เช่น การอบรมทางไกล(Tele-Training) การประชุมทางไกล(Tele-Conference) การประชุมผ่านอินเทอร์เน็ต(InternetConference) ซึ่งทำให้การฝึกอบรมประหยัดเวลาและงบประมาณ โดยไม่มีข้อจำกัดด้านสถานที่ บุคลากรและเวลา ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือการนำอินเทอร์เน็ตมาสนับสนุนต่อการสื่อสารระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น