วันพุธที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 8 การใช้สารสนเทศตามกฎหมายและจริยธรรม


บทที่ 8
การใช้สารสนเทศตามกฎหมายและจริยธรรม


1. บทนำ
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ การรับวัฒนธรรมที่แฝงเข้ามา
กับแหล่งข่าวสารข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรมของมนุษย์ โดยเฉพาะบนเครือข่ายสารสนเทศซึ่งเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงกันทุกมุมโลก การเปิดรับข่าวสารที่มาจากแหล่งข้อมูลดังกล่าวจึงขึ้นอยู่กับการตัดสินใจ และทัศนคติส่วนบุคคล การรับข้อมูลข่าว สารที่ไม่เหมาะสมส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดยเฉพาะ พฤติกรรมไม่พึงประสงค์ และมีแนวโน้มทำให้เกิดอาชญากรรม ปัญหาทางศีลธรรมและจริยธรรม เช่น อาชญากรรมบนเครือข่าย หรือ การกระทำผิดกฎหมายโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ อาชญากรรม 6 ประเภท ได้แก่ จารกรรมข้อมูลทางราชการทหารและข้อมูลทางราชการลับ จากกรรมทรัพย์สินทางปัญญาและข้อมูลด้านธุรกรรม จารกรรมเงิน และทำให้เกิดการติดขัดทางด้านพาณิชย์ การโต้ตอบเพื่อการ ล้างแค้น การก่อการร้าย เช่น ทำลายข้อมูล ก่อกวนการทำงานของ ระบบ และเสนอข้อมูลที่ผิดและการเข้าสู่ระบบเพียงเพื่อแสดงให้เห็นว่ามีความสามารถทำได้


2. ผลกระทบองเทคโนโลยีสารสนเทศ
การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศจนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างกว่างขวางกลายเป็นยุคแห่ง
เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือยุคข้อมูลข่าวสาร ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ชาติอย่าง มหาศาลนั้นหมายถึงก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงอะไรก็ตามย่อมมีผลกระทบต่อบุคคล องค์กร หรือสังคม


3. ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
เราสามารถพิจารณาปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จากการวิเคราะห์ทัศนคติต่อ
เทคโนโลยีสารสนเทศ ในมุมมองที่แตกต่างกัน


4. แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
ดังที่กล่าวมาบ้างแล้วว่าเราไม่สารมารถถอยห่างจากเทคโนโลยีสารสนเทศได้ ยิ่งนับวันเทคโนโลยี
สานสนเทศ จะเข้ามามีบทบาทในชีวิตมายิ่งขึ้น ทุกวันนี้มนุษย์ได้แปลงปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เป็นปัญหาของตน ให้มาอยู่ในรูปแบบที่เป็นปัจจัยนำเข้าของระบบคอมพิวเตอร์แล้วเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งข้อมูลปัจจัยนำเข้าในลักษณะต่าง ๆ เหล่านั้นจะถูกประมวลผลให้เป็นสารสนเทศที่มนุษย์นำไปสร้างเป็นความรู้เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป อย่างไรก็ตามในสังคมทุกสังคมต่างก็มีคนทีและคนชั่วปะปนกัน เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและกานสื่อสาร เป็นประโยชน์ได้มากเพียงใด ก็สามารถถูกกำหนดหรือสร้างให้เป็นโทษได้มากเพียงนั้น การป้องกันภัยและการแก้ปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีสารสนเทศจะเป็นเรื่องที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากสมาชิกในสังคมอย่าจริงจัง ในที่นี้จะเสนอแนวทางบางประการที่น่าจะช่วยลดปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศลงได้บ้าง


5. การใช้กฎหมายเพื่อแก้ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
ในการแก้ไขปัญหาสังคมโดยทั่วไปนั้น การเสริมสร้างจริยธรรมในหมู่สมาชิกในสังคมเป็นทางแก้
ปัญหาที่ถูกต้องและยั่งยืนที่สุด แต่ความเป็นจริงนั้นเราไม่สามารถสร้างจริยธรรมให้กับปัจเจกบุคคลโดยทั่วถึงได้ ดังนั้นสังคมจึงได้สร้างกลไกใหม่ขึ้นไว้บังคับใช้ในรูปแบบของวัฒนธรรมประเพณีทีดีงาม อย่างไรก็ตามเมื่อสังคมมีขนาดใหญ่ขึ้น รูปแบบของปัญหาสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น จึงมีความจำเป็นจะต้องตราเป็นกฎ ระเบียบหรือข้อบังคับ ในลักษณะต่างๆ รวมถึงกฎหมายด้วย ในกรณีของเทคโนโลยีสารสนเทศนี้ก็เช่นกัน การเกิดขึ้นของอินเทอร์เน็ตทำให้รูปแบบของปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศมีความหลากหลายและยุ่งยากมากขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นที่ต้องมีกลไกในรูปของกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศไว้ใช้บังคับ ในประเทศไทยก็ได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ โดยได้มีการปฏิรูปกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่ระบุว่า “รัฐจะต้อง ... พัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภคตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ”


6. กรณีศึกษาอาชญากรรมและกฎหมายไอที (http://www.lawyerthai.com/articles/it/006.php)
        กรณีที่ 1 : นายจ้างหรือผู้บังคับบัญชา เปิด e-mail ลูกจ้างหรือผู้ใต้บังคับบัญชาอ่านได้หรือไม่?
        ในการใช้งาน e-mail ภายในองค์กรนั้น จะมีคำถามว่า ถ้าองค์กรนั้น ๆ มีการกำหนด User name
และ Password ให้กับคนในองค์กร แล้วถ้านายจ้างหรือผู้บังคับบัญชารู้ User name และ Password ของคนในองค์กรแล้ว นายจ้างหรือผู้บังคับบัญชามีสามารถเปิดอ่าน e-mail ของลูกจ้างได้หรือไม่ ถ้าในประเทศสหรัฐอเมริกา มีกฎหมายกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า นายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาขององค์กรนั้นๆ สามารถเปิดดูและตรวจสอบ e-mail ของลูกจ้างได้รวมทั้งสามารถดูแฟ้มข้อมูลต่างๆ ในฮาร์ดดิสก์คอมพิวเตอร์ของบริษัทได้ หากเป็น e-mail ที่เป็นขององค์กร เพราะเป็น e-mail สำหรับการปฏิบัติงาน แต่หากเป็น e-mail อื่นที่ไม่ใช่ขององค์กร นายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาไม่ได้รับอนุญาตให้เปิดอ่าน หากนายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาละเมิดสิทธิ์ ลูกจ้างสมารถฟ้องร้องนายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาให้ชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่งได้








บทที่ 7 ความปลอดภัยของสารสนเทศ


บทที่ 7 ความปลอดภัยของสารสนเทศ


1. ความปลอดภัยในด้านปกป้องข้อมูลเมื่อใช้อินเทอร์เน็ต
ปัจจุบันมีเครื่องที่ต่ออยู่กับอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีทรัพย์สมบัติทางด้านข้อมูลจำนวนมากอยู่บนเครือข่าย
เหล่านั้นซึ่งบนอินเทอร์เน็ต มีระบบที่ใช้ป้องกันไม่พอเพียงรวมทั้งผู้ไม่พอในการป้องกันตัวเองจากการถูกโจมตีจากผู้อื่นเช่นกัน ระบบของเราอาจจะโดนโจมตีได้ทั้งนี้เพราะการโจมตีเหล่านั้นมีเครื่องมือช่วยมากและหาได้ง่ายมาก ตัวอย่างการโจมตีอาจจะมาจากวิธีการต่างๆ อีกมากมาย เช่น
- Denial of Service คือการโจมตี เครื่องหรือเครือข่ายเพื่อให้เครื่องมีภาระงานหนักจนไม่
สามารถให้บริการได้ หรือทำงานได้ช้าลง
- Scan คือวิธีการเข้าสู่ระบบโดยใช้เครื่องมืออัตโนมัติหรือเป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อ Scan
สู่ระบบหรือหาช่องจากการติดตั้งหรือการกำหนดระบบผิดพลาด
- Malicious Code คือการหลอกส่งโปรแกรมให้โดยจริงๆ แล้วอาจเป็นไวรัส เวิร์ม ปละม้าโทรจัน
และถ้าเรียกโปรแกรมนั้น โปรแกรมที่แอบซ่อยไว้ก็จะทำงานตามที่กำหนด เช่น ทำลายข้อมูลในฮาร์ดดิสก์หรือเป็นจุดที่คอยส่งไวรัส เพื่อแพร่ไปยังยังที่อื่นต่อไปเป็นต้น
จากทั้งหมดที่ได้กล่าวมา เครือข่ายที่เราใช้งานอาจมีลักษณะที่เรียกว่าเครือข่ายภายในองค์กร
(Intranet) ควรมีการป้องกันตนเองจากการโจมตีดังกล่าว ได้หลากหลายวิธี เช่น การดูแลและจัดการกับCookies การป้องกัน Malicious Code เช่น ไวรัส และ การใช้ Firewall


2. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับไวรัสคอมพิวเตอร์ (Computer Viruses)
หมายถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ปรือชุดคำสั่ง ที่มนุษย์เขียนขึ้นมามีวัตถุประสงค์เพื่อรบกวนการ
ทำงานหรือทำลายข้อมูล รวมถึงแฟ้มข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ ลักษณะการติดต่อของไวรัสคอมพิวเตอร์คือไวรัสจะนำพาตังเองไปติด (Attach) กับโปรแกรมดังกล่าวก็เป็นเสมือนโปรแกรมพาหะในกำนำพาไวรัสแพร่กระจายไปยังโปรแกรมหรือระบบคอมพิวเตอร์อื่นๆ หรือแม้กระทั่งแพร่กระจายในระบบเครือข่ายต่อไป


3. ฟิชชิ่ง (Phishing)
Phishing ออกเสียงคล้ายกับ fishing คือการหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ตอย่างหนึ่ง โดยผู้ที่ทำการ
หลอกลวงซึ่งเรียกว่า Phishing จะใช้วิธีการปลอมแปลงอีเมล์ติดต่อไปยังผู้ใช้อินเตอร์เน็ตโดยหลอกให้ผู้ใช้เข้าใจว่าเป็นจดหมายจากองค์กร หรือบริษัท ห้างร้านที่ผู้ใช้ทำการติดต่อหรือเป็นสมาชิกอยู่ โดยในเนื้อหาจดหมายอาจเป็นข้อความหลอกว่ามีเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นและต้องการให้ผู้ใช้ยืนยันข้อมูลส่วนตัวอีกครั้ง ซึ่งก็จะเป็นข้อมูลส่วนตัวซึ่งเป็นความลับ และมีความสำคัญ เช่น ชื่อผู้ใช้ระบบ Username รหัสผ่าน Password หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน ข้อมูลบัตรเครดิต ข้อมูลบัญชีธนาคาร เป็นต้น หากผู้ใช้ได้รับอีเมล์ลักษณะดังกล่าวและหลงเชื่อดำเนินการตามที่มีอีเมล์ดังกล่าวระบุจะทำให้ผู้ที่สร้างอีเมล์หลอกลวงขึ้นมานี้ได้รับข้อมูลความลับส่วนตัวของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อไป และสามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปดำเนินการต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อได้


5. ไฟร์วอลล์ (Firewall)
มาตรการหนึ่งที่ใช้ต่อสู้กับไวรัสคือ ไฟร์วอลล์ อินเทอร์เน็ตมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนในสังคมยุคโลกาภิวัฒน์เป็นอย่างมาก โดยผู้คนเหล่านั้นต้องการเชื่อมต่อเครือข่ายของตนเองกับอินเตอร์เน็ตเพื่อที่จะได้รับประโยชน์ต่างๆ เช่นเพื่อหาข้อมูลเพื่อทำการค้า เป็นต้น แต่การกระทำดังกล่าวทำให้ใครก็ได้บนอินเตอร์เน็ตสามารถเข้ามายังเครือข่ายนั้นๆ ได้ จึงเกิดปัญหาเรื่องความปลอดภัยของระบบเครือข่ายเช่นการถูกระบบ และขโมยข้อมูล เป็นต้น


6. พร็อกซี่ (Proxy)
เพื่อป้องกันระบบ Intranet ให้ปลอดภัย อาจมีการนำProxy เข้ามาทำงานร่วมกับไฟร์วอลล์โดย
เป็นการติดต่อผ่าน Proxy Serverในระบบ Intranet ใดๆ ที่มีการอนุญาตได้คอมพิวเตอร์แต่ล่ะตัวสามารถติดต่อ Internet Server และทรัพยากรต่างๆ ได้โดยตรงนั้นลักษณะเช่นนี้ทำให้ระบบมีความไม่ปลอดภัยอยู่ เช่น แฟ้มข้อมูลที่ดาวน์โหลดมาจาก Internet Server อาจมีไวรัสและทำลายแฟ้มข้อมูลที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น หรือทั้งระบบIntranet เลยก็ได้ นอกจากนี้เมื่อมีการอนุญาตให้ผู้ใช้เข้าถึง Internet Server ได้อย่างไม่มีข้อจำกัด ก็เป็นการยากสำหรับผู้ดูแลระบบที่จะป้องกันการบุกรุกระบบ Intranet หรือ Server ขององค์กร


7. คุ้กกี้ (Cookies)
ในการทำงาน Web Server ในบางครั้งก็มีการบันทึกข้อมูลลงในเครื่องของผู้ใช้อีกฝั่งซึ่งเป็นไฟล์ที่
อ่านจะมีข้อมูลสำคัญ จึงควรตระหนักถึงประเด็นนี้เพื่อปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลให้ดี
Cookie คือแฟ้มข้อมูลชนิด Text ที่เว็บเซิร์ฟเวอร์ทำการจัดเก็บไว้ที่ฮาร์ดดิสก์ของผู้ที่ไปเรียกใช้งาน
เว็บเซิร์ฟเวอร์นั้น ซึ่งข้อมูลที่อยู่ในไฟล์ Cookie นี้จะเป็นข้อมูลที่เราเข้าไปป้อนข้อมูล เช่น ข้อมูลชื่อ นามสกุลที่อยู่ อีเมล์ ชื่อผู้ใช่ รหัสผ่าน หรือแม่แต่ รหัสบัตรเครดิตการ์ด ของเราเอาไว้ที่ไฟนี้ ซึ่งแต่ล่ะเว็บไซต์ เมื่อเราเข้าไปใช้งานเว็บไซต์ในครั้งถัดๆ ไป ก็สามารถดูข้อมูลจาก Cookie นี้เพื่อให้ทราบว่าผู้ที่เข้าใช้เป็นใคร และมีข้อมูลส่วนตัวอะไรบ้าง


8. มาตรการควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตจากภัยคุกคามด้านจริยธรรม
ปัจจุบัน ภัยคุกคามอันเกิดจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตมีมากมาย หนึ่งในภัยจากอินเทอร์เน็ตคือเรื่อง
เว็บลามกอนาจาร ปัจจุบันมีความพยายามที่จะแก้ไขปราบปรามการเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง โดยมีประเด็นนี้
คือ
“ผู้ใดประสงค์แจกจ่ายแสดง อวดทำผลิตแก่ประชาชนหรือทำให้เผยแพร่ซึ่งเอกสาร ภาพระบายสี
สิ่งพิมพ์ แถบยันทึกเสียง บันทึกภาพหรือเกี่ยวเนื่องกับสิ่งพิมพ์ดังกล่าว มีโทษจำคุก ปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ”โดยจะบังคับใช้กับผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต เซิร์ฟเวอร์ รวมถึงสื่อทุกประเภทอย่างจริงจัง ตัวอย่างซอฟต์แวร์เพื่อดูแลการแก้ไขและป้องกันภายทางอินเทอร์เน็ต ได้แก่ เอาส์ คีพเปอร์ (House Keeper) เป็นโปรแกรมสำหรับแก้ปัญหา “ภาพลามกอนาจาร เนื้อหาสาระที่ไม่เหมาะสม การใช้เว็บไม่เหมาะสมไม่ควรฯลฯ” โดยนำไปติดตั้งกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้าน สารวัตรอินเตอร์เน็ตหรือไซเบอร์อินสเปคเตอร์เป็นอีกหน่วยงานที่สอดส่องภัยอินเทอร์เน็ต สารวัตรอินเทอร์เน็ตร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้บล็อกเว็บไซต์ไม่เหมาะสมและเก็บฐานข้อมูลไว้







บทที่ 6 การประยุกต์ใช้สารสนเทศในชีวิตประจำวัน


บทที่ 6 การประยุกต์ใช้สารสนเทศในชีวิตประจำวัน

1. บทนำ
        แนวโน้มในอนาคตภายในครอบครัวจะมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวันกันมากขึ้นเช่น โทรศัพท์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วีดิเท็กซ์ ไมโครคอมพิวเตอร์ ฯลฯ เทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีความสำคัญมากในปัจจุบัน และมีแนวโน้มมากยิ่งขึ้นในอนาคต เพราะเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานสารสนเทศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพนับตั้งแต่การผลิต การจัดเก็บ การประมวลผล การเรียกใช้ และการสื่อสารสารสนเทศรวมทั้งการแลกเปลี่ยนและใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกันให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ซึ่งความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศสรุปได้ ดังนี้


- ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาลของแต่ละวัน
- ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารสนเทศ เช่น การคำนวณตัวเลขที่ยุ่งยาซับซ้อน การจัดเรียง
ลำดับสารสนเทศ ฯลฯ
- ช่วยให้สามารถเก็บสารสนเทศไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้ทุกครั้งอย่างสะดวก
- ช่วยให้สามารถจัดระบบอัตโนมัติเพื่อการจัดเก็บประมวลผล และเรียกใช้สารสนเทศ
- ช่วยในการเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น
- ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลาและระยะทาง
โดยการใช้ระบบโทรศัพท์ และอื่นๆ


2. ขอบข่ายของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
ขอบข่ายของเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นจะเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์และกระบวนการหลาย
ด้าน เช่น การสื่อสารระบบดาวเทียม เทคโนโลยีการจัดการฐานข้อมูล การจัดพิมพ์ระบบอิเล็กทรอนิกส์ การประมวลผลตัวเลข การประมวลผลภาพ คอมพิวเตอร์สำหรับช่วยออกแบบและช่วยการผลิต (CAD/CAM)เป็นต้น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศจะประกอบด้วย


2.1 ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing System) เป็นระบบที่ทำหน้าที่ใน
การปฏิบัติงานประจำและทำการบันทึกจัดเก็บ ประมวลผลที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน และให้สารสนเทศสรุปเบื้องต้นของการปฏิบัติงานประจำวันโดยมากจะนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาทำงานแทนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้นระบบประมวลผลรายการนี้มักเป็นระบบที่เชื่อมโยงกิจการกับลูกค้าหรือบุคคลภายนอกมากติดต่อกับ กิจการ เช่น การจองบัตรโดยสารเครื่องบิน การฝาก-ถอนอัตโนมัติ เป็นต้น
1.2ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation System) เป็นระบบสนับสนุนงานธุรการในหน่วยงาน
เพื่อให้พนักงานระดับธุรกิจสามารถทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบนี้จะเกี่ยวข้องกับการจัดการเอกสารได้แก่ การติดต่อประสานงานผ่านระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic mail) ระบบฝากข้อความ(Voice Mail)
2.2 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems) เป็นระบบ
สารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับกลาง เพื่อใช้ในการวางแผน บริหารจัดการและควบคุมงาน โดยทั่วไประบบ
นี้จะเชื่อมโยงข้อมูลที่อยู่ในระบบประมวลผลเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างสารสนเทศที่เหมาะสมและจำเป็นต่อการ
บริหารอย่างมีประสิทธิภาพ
2.3 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System) เป็นระบบที่ช่วยผู้บริหาร
ในการตัดสินใจสำหรับปัญหาที่อาจมีโครงสร้างหรือขั้นตอนการหาคำตอบที่แน่นอนตายตัวเพียงบางส่วนหรือเป็นกรณีเฉพาะ นอกจากนี้ระบบนี้ยังเสนอทางเลือกต่างๆ ให้ผู้บริหารพิจารณา เพื่อเลือกทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด หลักการของระบบสนับสนุนการตัดสินใจสร้างขึ้นจากแนวคิดการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้ใช้โต้ตอบตรงกับระบบ ทำให้สามารถวิเคราะห์ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขและกระบวนการพิจารณาได้ตลอดเวลา โดยอาศัยประสบการณ์วิจารณญาณ และความสามารถของผู้บริหารเอง โดยอาจจะใช้การจำลองแบบ เพื่อช่วยในการตัดสินใจ โดยไม่ต้องเสี่ยงกระทำในสภาพจริง


3 .หน้าที่ของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศมีหน้าที่ที่จะช่วยให้ผู้ใช้ได้รับ “สารสนเทศ” ตามที่ต้องการถ้าปราศจากเทคโนโลยีสารสนเทศแลว้ จะเปน็ การยากอย่างยิ่งในการสือ่ สารสารสนเทศทัง้ นี้เพราะในภาวะปัจจุบันมสี ารนิเทศจำนวนมากมายมหาศาล เพราะการเพิ่มปริมาณของเอกสาร อย่างล้นเหลือ (Publication Explosion) ทำให้เกิด


4. การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศมีประเด็นที่จะต้องพิจารณาหลายเรื่องด้วยกันได้แก่
4.1 การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศด้านใดบ้างที่จะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานจะเห็นแล้วว่า
เทคโนโลยีสารสนเทศนั้นสามารถนำไปประยุกต์ได้หลายด้าน แม้ในสำนักงานก็มีเทคโนโลยีให้เลือกใช้ได้มากมาย เช่น เทคโนโลยีสำนักงานอัตโนมัติ ระบบประมวลภาพลักษณ์ ระบบประชุมทางไกล ในประเด็นนี้ผู้บริหารงานเทคโนโลยีสารสนเทศจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีนั้นๆ ต้องเข้าใจว่าจะนำเทคโนโลยีนั้นมาใช้อะไรได้ ใช้แล้วจะได้รับประโยชน์อะไรบ้างจะเกิดผลกระทบต่อองค์กรอย่างไรบ้าง
4.2 การวางแผนกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หน่วยงานขนาดใหญ่ระดับกระทรวง กรม หรือ
บริษัทขนาดใหญ่จำเป็นจะต้องมีแผนกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม เพื่อใช้เป็นแผนที่สำหรับนำไปสู่การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้นั้น หากไม่ได้วางแผนละควบคุมให้ดี กลับไปเลือกใช้เทคโนโลยีผิดแล้วจะเกิดความเสียหายได้มาก นอกจากจะสิ้นเปลืองเงินลงทุนไปโดยใช่เหตุแล้ว ยังเสียเวลา และทำให้การทำงานปั่นป่วนได้ การวางแผนกลยุทธ์นั้นช่วยให้เห็นภาพรวมของการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศโดยรวมของทั้งหน่วยงานได้ชัดเจนขึ้น เกิดความเข้าใจว่าจะต้องพัฒนางานหรือเทคโนโลยีใด เมื่อใด และต้องใช้ทรัพยากรมากเท่าใด
4.3 การกำหนดมาตรฐาน เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทำงานร่วมกัน
ระหว่างหน่วยงานต่างๆ มาตรฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นมีอยู่หลายเรื่อง มาตรฐานทางด้านตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ จะต้องเป็นแบบที่ทำให้เครื่องและอุปกรณ์ทั้งหลายทำงานร่วมกันได้ มาตรฐานทางด้านซอฟต์แวร์เป็นตัวกำหนดว่าทั้งองค์กรจะต้องใช้ซอฟต์แวร์แบบไหนบ้าง จะใช้ภาษาคอมพิวเตอร์อะไร จะใช้ระบบจัดการฐานข้อมูล มาตรฐานข้อมูลและรหัสข้อมูลแบบไหน หรือใช้โปรแกรมสำเร็จอะไร การใช้ซอฟต์แวร์เป็นมาตรฐานเดียวกันจะทำให้หน่วยงานทำงานได้สะดวกขึ้น ไม่สิ้นเปลืองทรัพยากรมากนัก
4.4 การลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เราควรลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมากสักเท่าใด

4.5 การจัดองค์กร เมื่อมีแผนงานและงบประมาณสำหรับดำเนินการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
แล้ว ต่อไปก็จำเป็นที่จะต้องพยายามสร้างองค์กรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงานให้เข้มแข็งมากขึ้น
โดยคำนึงถึง
- หน่วยงานที่จะดูแลทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
- บุคลากรที่เหมาะ
- ผลตอบแทนต่อบุคลากร
4.6 การบริหารงานพัฒนาระบบ การพัฒนาระบบนั้นเป็นงานที่ต้องวางแผนอย่างดี และต้องมี
หัวหน้าโครงการที่มีความรู้ทั้งทางด้านเทคนิคและทางด้านการสื่อสารทั้งด้วยวาจาและเป็นเอกสาร
4.7 การจัดการผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ คือพยายามทำให้ผู้ใช้มีความรู้สึกที่ดีต่อแผนกเทคโนโลยี
สารสนเทศ และขณะเดียวกันก็สามารถทำงานให้ตัวเองได้ภายในกฏเกณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงาน เพื่อป้องกันปัญหาเรื่องการไม่ทำตามมาตรฐานที่กำหนด
4.8 การจัดการข้อมูล ปัญหาคือการแบ่งปันการใช้ข้อมูล การที่แผนกต่างๆ ต้องพยามยามจัดเก็บ
ข้อมูลมาใช้เอง ทำให้ต้องทำงานซ้ำซ้อน และเกิดความสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ เพราะฉะนั้นต้องหาทางประสานงานให้ผู้ใช้ทุกหน่วยงานแบ่งปันข้อมูลกัน
4.9 การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบ การนำเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมมาใช้นั้น
เป็นการเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกทำงานร่วมกับเราได้ ถ้าหากบุคคลภายนอกเหล่านี้ทำงานตรงไปตรงมาเราก็คงจะไม่มีปัญหาอะไร แต่บุคคลภายนอกบางคนอาจจะมีความประสงค์ร้าย คืออาจจะต้องการโจรกรรมข้อมูลของหน่วยงานไปใช้ หรือต้องการทำลายข้อมูลที่เราบันทึกเก็บไว้ ด้วยเหตุนี้ผู้บริหาร งานเทคโนโลยีสารสนเทศจึงจำเป็นจะต้องคิดหาวิธีที่จะป้องกันอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์และข้อมูล ไม่ให้ถูกบุคคลภายนอกทำลายได้ นอกจากบุคคลภายนอกแล้ว ระบบสารสนเทศและอุปกรณ์ต่างๆ ของเราอาจจะประสบอุบัติภัยในด้านต่างๆ ได้ตลอดเวลา
4.10 ความสัมพันธ์กับผู้บริหาร เราต้องพยายามสร้างผลงานที่ผู้บริหารเห็นแล้วประทับใจ ต้อง
พยามยามชี้ว่าการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้นั้นคุ้มค่าเงินลงทุนและทำให้การทำงานโดยรวมมีประสิทธิภาพ
4.11 การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ งานวิจัยนี้อาจเป็นเพียงงานขนาดเล็กที่ทำเพื่อให้
เข้าใจผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น เมื่อบริษัทไมโครซอฟต์นำระบบWindows 95ออกจำหน่าย ก็ต้องศึกษาวิจัยว่าซอฟต์แวร์นี้มีฟังก์ชันอะไรบ้าง แตกต่างจากระบบ Windows อื่นๆ อย่างไรต้องใช้คอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะมากขนาดไหน สมควรที่จะซื้อหามาใช้หรือไม่

5. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ จะมีลักษณะเป็นแบบการประยุกต์ใช้ โดยเฉพาะในสภาพสังคม
ปัจจุบัน มนุษย์สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยปฏิบัติงานในด้านต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิผลได้แก่
5.1 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานสำนักงาน ปัจจุบันสำนักงานจำนวนมากได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว ความถูกต้องและสามารถจัดพิมพ์ฉบับได้เป็นจำนวนมาก เป็นต้น
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEggaq8CZVe5WsG6MP51noBhDf6arM8H6LykEj1G-cZblvEQT9K5bHH585EFvGHz-qkxrrUoeU0OeL87XlFJDa4KofQgAHrcxaR3grytTwMHzrW-PQf3WzggGd6q5VuwIxBwHSU4YvBC0Io/s1600/pic1_01_1.jpg

5.2 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานอุตสาหกรรม โรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งนำ
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System : MIS) เข้ามาช่วยจัดการด้าน
ผลิต การสั่งซื้อ การพัสดุ การเงิน บุคลากร และงานด้านอื่นๆ ในโรงงาน MIS จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการวางแผน การออกแบบผลิตภัณฑ์ การวิจัยเพื่อพัฒนา และมีบทบาทสำคัญในการควบคุมการปฏิบัติการของเครื่องจักรในโรงงาน ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานอุตสาหกรรม

5.3 การประยกุต์ใช้ ทคโนโลยีสารสนเทศในงานการเงนิ และการพาณชิ ย์ สถาบนั การเงนิ เชน่ ธนาคารได้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบของ ATM เพื่ออำนวยความสะดวกในการฝากถอน โอนเงิน ในส่วนของงานประจำธนาคารต่างนำคอมพิวเตอร์ระบบออนไลน์และออฟไลน์เข้ามาช่วยปฏิบัติงาน ทำให้การเชื่อมโยงข้อมูลธนาคารเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว ทุกสาขาสามารถเชื่อมโยงกับสาขาอื่นหรือสำนักงานใหญ่ และสามารถเชื่อมโยงกับธนาคารอื่นได้
5.4 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานการบริการการสื่อสาร ได้แก่ การบริการโทรศัพท์
โทรศัพท์เคลื่อนที่ วิทยุ โทรทัศน์ เคเบิลทีวี การค้นคืนสารสนเทศระบบออนไลน์ ดาวเทียม และโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิตอล (ISDN) เป็นต้น
5.5 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านการสาธารณสุข สามารถนำมาประยุกต์ได้หลายด้าน


5.6 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ กับงานด้านการฝึกอบรมและการศึกษา
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษานั้น มีแนวทางในการใช้มากมายขึ้นแต่ที่
ใช้กันอยู่โดยทั่วไปมี 6 ประเภท คือ
- การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction : CAI) เป็นการนำเอา
คออธิบายบทเรียนมาบรรจุไว้ในคอมพิวเตอร์ แล้วนำบทเรียนนั้นมาแสดงแก่ผู้เรียน เมื่อผู้เรียนอ่านคำอธิบายนั้นแล้ว คอมพิวเตอร์ก็จะทดสอบความเข้าใจว่าถูกต้องหรือไม่ หากไม่ถูกต้องก็ต้องมีวิธีการอธิบายเนื้อหาเพิ่มเติมให้เข้าใจมากขึ้น แล้วถามซ้ำอีก ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาการถึงระดับใช้สื่อประสม และใช้เทคนิคต่างๆเพื่อให้การสอนบรรลุผลสัมฤทธิ์มากขึ้น
- การศึกษาทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการจัดการศึกษาทางไกลมีหลายแบบ
ตั้งแต่แบบง่าย ๆ เช่น การใช้วิทยุ โทรทัศน์ ออกอากาศให้ผู้เรียนศึกษาเอง ตามเวลาที่ออกอากาศ ไปจนถึงการใช้ระบบแพร่ภาพผ่านดาวเทียม (Direct To Home : DTH) หรือการประยุกต์ใช้ระบบประชุมทางไกล(Video Teleconference) โดยใช้ผู้สอน และผู้เรียนสามารถสื่อสารถึงกันได้ทันทีเพื่อสอบถามข้อสงสัยหรืออธิบายคำสอนเพิ่มเติม
- เครือข่ายการศึกษา เป็นการจัดทำเครือข่ายการศึกษา เพื่อให้ครู อาจารย์ และนักเรียน
นักศึกษามีโอกาสใช้เครือข่ายเพื่อเสาะแสวงหาความรู้ที่มีอยู่อย่างมากมายในโลก และใช้บริการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ทางการศึกษา เช่น บริการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) การเผยแพร่ และค้นหาข้อมูลในระบบเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) ซึ่งในปัจจุบันมีเครือข่ายสคูลเน็ต (School Net) ที่เนคเทคได้ส่งเสริมให้เกิดขึ้น และมีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการนี้ประมาณ 60 โรงเรียน (พ.ศ. 2540) และยังมีเครือข่ายกาญจนาภิเษกที่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นการกระจายความรู้ให้กับประชาชนโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเข้าใช้สารสนเทศแต่อย่างใด
- การใช้งานห้องสมุด ในปัจจุบันห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนเกือบทุกแห่ง ได้
นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการดำเนินงาน นอกจากนี้ ยังส่งเสริมให้มีความร่วมมือในการให้การบริการในลักษณะเครือข่าย เช่น โครงการ PULINET (Provincial University Network) และโครงการ THAILINET(Thai Library Network) การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในห้องสมุด ทำให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวกมากขึ้น เช่น บริการยืมคืน การค้นหาหนังสือ วารสาร สิ่งตีพิมพ์ต่างๆ ที่ต้องการได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
- การใช้งานในห้องปฏิบัติการ มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการทำงานใน
ห้องปฏิบัติการร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆ เช่น การจำลองแบบ การออกแบบวงจรไฟฟ้า การควบคุมการทดลองซึ่งอุปกรณ์ที่ทันสมัยในปัจจุบัน ต่างผนวกความสามารถของเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปด้วยแทบทั้งสิ้น
- การใช้ในงานประจำและงานบริหาร เช่น การจัดทำทะเบียนประวัติของนักเรียน นักศึกษา
การเลือกเรียน การลงทะเบียนเรียน การแสดงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กาแนะแนวอาชีพ และศึกษาต่อ ข้อมูลผู้ปกครอง หรือ ข้อมูลครู ซึ่งการมีข้อมูลดังกล่าว ทำให้ครูอาจารย์สามารถติดตาม และดูแลนักเรียนได้อย่างดีรวมทั้ง ครูอาจารย์สามารถพัฒนาตนเองได้สูงขึ้น

6. ซอฟต์แวร์เพื่อสังคม (Social software)
6.1 ความหมาย
ซอฟต์แวร์เพื่อสังคม คือซอฟต์แวร์ที่ทำให้ผู้คนสามารถนัดพบปะ เชื่อมสัมพันธ์หรือทำงาน
ร่วมกันโดยมีคอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลาง เกิดเป็นสังคมหรือชุมชนออนไลน์ คำนี้มีความหมายมากกว่าสื่อเก่าๆอย่าง Mailing List และ UseNet กล่าวคือหมายรวมถึง E-mail, msn, instant messaging, web, blogและ wiki สำหรับซอฟต์แวร์เพื่อการทำงานร่วมกันเรียกว่า collaborative software ในการศึกษา
ซอฟต์แวร์เพื่อสังคมนั้น เราต้องทำความเข้าใจกับคำว่า ซอฟต์แวร์เพื่อสังคมก่อน ส่วนการจำ�แนกกลุ่มของซอฟต์แวร์เพื่อสังคมนั้น ในตอนนี้แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ใช้ประโยชน์ในการติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตและ กลุ่มที่ใช้ประโยชน์ในการจัดการความรู้ เครื่องมือที่จัดว่าเป็นซอฟต์แวร์เพื่อสังคมมีลักษณะการใช้ประโยชน์ร่วมกันในสังคมมนุษย์ เช่น การติดต่อสื่อสาร การแบ่งปันความรู้ การจัดการความรู้ เป็นต้นเป็นที่น่าสังเกตว่าซอฟต์แวร์บางประเภทเริ่มพัฒนาจากระดับล่างขึ้นบน ซึ่งสมาชิกเป็นอาสาสมัครและชื่อเสียงของซอฟต์แวร์ก็โตมาจากความเชื่อถือของสมาชิก โดยมีจุดมุ่งหมายและแนวทางปฏิบัติตามอย่างที่สมาชิกในกลุ่มต้องการในทางตรงกนั ข้ามบางซอฟต์แวร์โตจากบนลงล่า งโดยให้บทบาทผูใช้เป็นบุคคลนอกที่ต้องได้รับสทิธิก่อนการเข้าใช้ซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์สังคมมีจุดกำเนิดมาจากการร่วมมือกันระหว่างโปรแกรมเมอร์และกลุ่มคนทางสังคม
ที่ให้ความสนใจในประเด็นที่ต่างออกไปจากซอฟต์แวร์โดยทั่วไป เช่น โปรแกรมตารางคำนวณ โปรแกรมการจัดการฐานข้อมูล โปรแกรมบัญชี โปรแกรมการลงทะเบียน เป็นต้น

6.2 ชนิดของเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
เครื่องมือซอฟต์แวร์สังคม สามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภทคือ เครื่องมือเพื่อการสื่อสาร
และเครื่องมือเพื่อการจัดการความรู้
1) เครื่องมือเพื่อการสื่อสาร แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสาร
สองฝ่ายไม่พร้อมกัน (asynchronous) คือไม่จำเป็นต้องเผชิญหน้ากัน ตัวอย่างเช่น การใช้ E-mail , Webboard , Newsgroup เป็นต้น และอีกประเภทหนึ่งคือ เครื่องมือที่ช่วยในการสื่อสารคนสองคนหรือเป็นกลุ่มแบบสองฝ่ายพร้อมกัน (synchronous ) เช่น การสนทนาผ่านโปรแกรม Chat , ICQ , MSN เป็นต้น
2) เครื่องมือเพื่อการสร้างการจัดการความรู้ เป็นเครื่องมือในกลุ่มที่ใช้เพื่อประโยชน์
เพื่อการจัดการความรู้ มีหลายอย่าง โดยแบบเบื้องต้นเช่น การสืบค้นข้อมูล ส่วนในระดับถัดมา เป็น
เครื่องมือเพื่อการใช้ข้อมูลร่วมกัน รวมทั้งให้ความรู้ และสร้างความรู้ใหม่ เช่น Wiki , Blog เป็นต้น
เครื่องมือที่ใช้ในการการปฏิสัมพันธ์ ต่างจากเครื่องมือเพื่อการสื่อสาร ตรงที่เครื่องมือเพื่อการ
ปฏิสัมพันธ์นี้มุ่งเน้นเพื่อเสริมสร้างการเชื่อมโยงกันระหว่างผู้ใช้โดยอาศัยกลไกของการพูดคุยสนทนากัน
6.3 ตัวอย่างเครื่องมือทางสังคมต่างๆ
1) Blog
Blog มาจากคำเต็มว่า WeBlog บางครั้งอ่านว่า We Blog บางคนอ่านว่า Web Log แต่
ทั้งสองคำบ่งบอกถึงความหมายเดียวกัน Blog คือการบันทึกบทความของตนเอง

2) Internet Forum
Internet Forum เป็นส่วนหนึ่งใน World Wide Web ที่มีไว้สำหรับเก็บการอภิปราย หรือ
ซอฟต์แวร์ที่ให้บริการด้านนี้ ฟอรั่มในเว็บเริ่มประมาณปี 1995 โดยทำหน้าที่คล้ายกับ bulletin board และnewsgroup ที่มีมากมายในยุค 1980s และ 1990s ความเป็นชุมชนเสมือนของฟอรั่มเกิดจากผู้ใช้ขาประจำประเด็นที่เป็นที่นิยมของฟอรั่มทั่วไปมี เทคโนโลยี เกมคอมพิวเตอร์ และการเมือง เป็นต้น

3) Wiki
Wiki อ่านออกเสียง “wicky”, “weekee” หรือ “veekee” เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้เรา
สามารถสร้างและแก้ไขหน้าเว็บเพจขึ้นมาใหม่ผ่านทางบราวเซอร์ โดยไม่ต้องสร้างเอกสาร html เหมือนแต่ก่อน แต่ Wiki เน้นการทำระบบสารานุกรม , HOWTOs ที่รวมองค์ความรู้หลายๆ แขนงเข้าไว้ด้วยกันโดยเฉพาะ มีเครื่องมือที่ใช้ทำWiki หลายอย่าง เช่น Wikipedia , MoinMoin , WackoWiki เป็นต้นWikipedia เป็นระบบสารานุกรม(Encyclopedia) สาธารนะ ที่ทุกคนสามารถใส่ข้อมูลลงไปได้ รองรับภาษามากกว่า 70 ภาษารวมทั้งภาษาไทย สำหรับภาษาไทยสามารถเข้าอ่านได้ http://th.wikipedia.com




4) Instant Messaging
เป็นการอนุญาตให้มีการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลบนเครือข่ายที่เป็นแบบ relative
privacy ตัวอย่าง client ที่เป็นที่นิยมเช่น Gtalk, Skype, Meetro, ICQ, Yahoo Messenger , MSN
Messenger และ AOL Instant Messenger เป็นต้น ในการใช้งานดังกล่าวจะสามารถเพิ่มรายชื่อให้อยู่ในcontact list หรือ buddy list ได้ โดยการใส่ e-mail address หรือ messenger ID ลงไป ถ้าคนๆนั้น
onlineขึ้นมา ชื่อของคนนั้นจะปรากฏขึ้นมาและสามารถ chat ได้โดยการคลิกไปที่ชื่อนั้นแล้วพิมพ์ข้อความที่ต้องการสนทนาลงไปใสช่องหน้าต่างที่กำหนดให้สำหรับพิมพ์ข้อความ รวมถึงสามารถอ่านข้อความที่โต้ตอบได้โดยอาจผ่านหน้าจอเดียวกัน เช่น โปรแกรม Google Talk (http://www.google.com/talk/), ICQ(http://www.icq.com) เป็นต้น


5) Social network services
Social network services จะอนุญาตให้ใครก็ได้แบ่งปันความรู้ สิ่งที่สนใจต่าง ๆ ร่วม
กัน เช่น บางที่สร้างเพื่อเอาไว้นัดเดทกัน เพราะฉะนั้นผู้ใช้ก็อาจจะโพสข้อมูลส่วนตัว ที่อยู่ เพศ เบอร์โทรศัพท์เพื่อให้ผู้อื่นที่สนใจสามารถค้นหาข้อมูลได้โดยสะดวก ตัวอย่างเช่น iKarma, ArtBoom, Orkut, Friendster,Linkedin, openBC, Facebook, Twitter เป็นต้น
6) Social guides
เป็นที่สำหรับการนัดพบกันได้จริงๆ บนโลก เช่น ร้านกาแฟ ร้านอาหาร เป็นต้น ตัวอย่าง
เช่น CafeSpot, Tagzania และ WikiTravel เป็นต้น
7) Social bookmarking
บางที่อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถโพส list of bookmark ( favorite websites ) ลงไปได้เพื่อ
แลกเปลี่ยนแหล่งข้อมูลที่ตนเองสนใจ เช่น Linko , Spurl , BlinkList , RawSugar เป็นต้น
8) Social Citations
มีลักษณะคล้าย social bookmarking มาก แต่จะเน้นไปทางด้านการศึกษาของนิสิต
นักศึกษา โดยอนุญาตให้ผู้ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลต่าง ๆ งานวิจัย หรือสาระความรู้ที่สนใจ โดยสามารถแบ่งเป็นหมวดหมู่ต่าง ๆ ตามแต่ผู้ใช้จะจัดสรร ตัวอย่างเช่น CiteUlink เป็นต้น
9) Social Shopping Applications
มีประโยชน์ในเรื่องการเปรียบเทียบสินค้า ดูรายการสินค้า เป็นต้น ตัวอย่างเช่น SwagRoll,
Kaboodle , thethingsiwant.com และ Yahoo! Shoposphere
10) Internet Relay Chat
Internet Relay Chat หรือ IRC จะอนุญาตให้ผู้ใช้สนทนาในห้อง chat rooms ซึ่งอาจมี
หลายๆคนที่เข้าใช้งานในกลุ่มสนทนาในห้องดังกล่าว ผู้ใช้สามารถสร้างห้องใหม่หรือเข้าไปในห้องที่มีอยู่แล้ว
ก็ได้ ทั้งนี้ผู้ใช้คนนั้นๆ อาจพิมพ์ข้อความลงไปแล้วให้คนทั้งห้องอ่านได้ ซึ่งผู้ใช้ในห้องแต่ละห้องอาจจะมีการ
เข้าไปใช้งานและออกจากห้องสนทนาอยู่ตลอด ผู้ใช้ยังสามารถเชิญผู้ใช้คนอื่นเข้ามาร่วมสนทนาในห้องที่ตนเอง
อยู่หรือเป็นผู้สร้างเองก็ได้ ซึ่งในการสนทนาระหว่างกันนั้นจะเป็นแบบหนึ่งต่อหนึ่ง หรือหลายต่อหลายก็ได้
11) Knowledge Unifying Initiator (KUI)
Knowledge Unifying Initiator หรือเรียกย่อๆ ว่า KUI หรือ “คุย” ในภาษาไทย
หมายถึงการสนทนา โดยคำว่า Knowledge Unifying Initiator หมายถึง กลุ่มผู้รวบรวมความรู้
โดย KUI จัดว่าเป็นซอฟต์แวร์ทางสังคม(Social Software) และการจัดการความรู้ (Knowledge
anagement) เนื่องจากภายในโปรแกรม KUI ประกอบด้วยโครงสร้างซึ่งแบ่งออกเป็น 3 หมวดหลักดังนี้
- Localization เป็นการเสนอคำแปลความหมายของประโยค วลี หรือคำศัพท์
- Opinion Poll เป็นการเสนอความคิดเห็นจากการสำรวจความคิดเห็น
- Public Hearing เป็นข้อเสนอแนะ การตีความ ประชาพิจารณ์ ร่างกฎหมาย


6.4 การใช้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์เพื่อสังคม
 ซอฟต์แวร์เพื่อสังคม (Social software) ใช้ประโยชน์ในการประมวลทางสังคม (Social
computing) ในยุคที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เป็นทุนในการพัฒนาสังคม ในยุคนี้มีความจำเป็นจะต้องสร้างระบบที่ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมจากสมาชิกในสังคมให้มากที่สุดโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปิดพื้นที่การมีส่วนร่วมใหม่ให้กับภาคประชาสังคม เพื่อให้ประชาคมในทุกภาคส่วนได้มีโอกาสที่จะเข้าถึงและทำงานเพื่อสังคมของตนด้วยตนเอง ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ดังนั้นในการออกแบบซอฟต์แวร์เพื่อสังคมจึงเน้นให้เป็นความเป็นปัจเจก (individual) ของบุคคลไว้ การให้โอกาสปัจเจกบุคคลสามารถแสดงออกสู่สาธารณะโดยมีกระบวนการที่สนับสนุนให้มีการตอบสนองจากสังคมอย่างเท่าเทียมเป็นปารถนาสูงสุดของการประมวลทางสังคม




7. การสืบค้นสารสนเทศทางอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลขนาดใหญ่ จนได้รับสมญานามว่า “ห้องสมุดโลก” ซึ่งมีข้อมูล
หลากหลายประเภทและมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นในการที่เราจะค้นหา ข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ สำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับแหล่งข้อมูลนี้ นั่นคือ มักประสบปัญหาไม่ทราบว่าข้อมูลที่ต้องการนั้นอยู่ในเว็บไซต์ใด ดังนั้นจึงได้มีเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลต่างๆ บนอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า เครื่องมือช่วยค้น หรือ เซิร์ชเอ็นจิน (Search Engine) ในการสืบค้นข้อมูลนั้นถ้าหากเราทราบแหล่งข้อมูลหรือเว็บไซต์ เราก็สามารถพิมพ์หรือระบุ URL ในช่อง Address ได้เลย แต่ถ้าหากเราไม่ทราบว่าแหล่งข้อมูลนั้นอยู่ที่ใด เราสามารถใช้เว็บไซต์ที่เป็น Search Engine ช่วยในการค้นหาได้อย่างรวดเร็ว

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjQ03ZrG-Ed78YKM1T-RwRm4i5FrCYAYiQuvLPWaf63HOOxg6ENAYyFDvoyAwp5zfnOs9aOFUlikZXnxvDDSy_agiiT8iYAL8Sk2OCtbZ2nV_WjR3ucAJl2eaYv90dMI-y_GI5wjeXAlkY/s1600/globalnetwork.jpg








วันอังคารที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 5 การจัดการสารสนเทศ


บทที่ 5 การจัดการสารสนเทศ


1. ความหมายการจัดการสารสนเทศ
        การจัดการสารสนเทศ หมายถึง การทำกิจกรรมหลัก ต่างๆ ในการจัดหา การจัดโครงสร้าง
(organization) การควบคุม ผลิต การเผยแพร่และการใช้สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานขององค์การทุกประเภทอย่างมีประสิทธิผล ซึ่งสารสนเทศในที่นี้หมายถึงสารสนเทศทุกประเภทที่มีคุณค่าไม่ว่าจะมีแหล่งกำเนิดจากภายในหรือภายนอกองค์การ (Wilson 2003 อ้างใน Kirk, 2005, p.21)
การจัดการสารสนเทศ หมายถึง กระบวนการดำเนินงาน เช่น ทำดรรชนี การจัดหมวดหมู่ การจัด
แฟ้มการทำรายการเพื่อการเข้าถึงเอกสารหรือสารสนเทศที่มีการบันทึกไว้ในรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่จดหมายเหตุ(archive) เชิงประวัติ ถึงข้อมูลดิจิทัล (Middleton, 2002, p.13)
การจัดการสารสนเทศ หมายถึง การดำเนินการกับสารสนเทศในระดับองค์การ ได้แก่ การวางแผน
การ จัดสรรงบประมาณ การจัดโครงสร้างองค์การ การจัดเจ้าหน้าที่ การกำหนดทิศทาง การฝึกอบรม และการควบคุมสารสนเทศ (Bent, 1999 อ้างใน Myburgh, 2000, p.10)
        กล่าวโดยสรุป การจัดการสารสนเทศ ความหมายถึง การผลิต จัดเก็บ ประมวลผล ค้นหา และเผยแพร่ สารสนเทศโดยจัดให้มีระบบสารสนเทศ การกระจายของสารสนเทศ ทั้งภายในและภายนอกองค์การโดยมีการนำเทคโนโลยีต่างๆ โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารมาใช้ในการจัดการ รวมทั้งมีนโยบาย หรือ กลยุทธ์ระดับองค์การในการจัดการสารสนเทศ


2. ความสำคัญของการจัดการสารสนเทศ
        การจัดการสารสนเทศในสภาวะที่สังคมมีสารสนเทศเกิดขึ้นมากมาย ในลักษณะสารสนเทศท่วมท้นการจัดการสารสนเทศ โดยจัดเป็นระบบสารสนเทศต่างๆ เพื่อการใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการเป็นความจำเป็นและมีความสำคัญทั้งต่อบุคคลในด้านการดำรงชีวิตประจำวัน การศึกษา และการทำงานและมีความสำคัญต่อองค์การในหลายด้าน คือ ด้านการบริหารจัดการ การดำเนินงาน และกฎหมาย ดังนี้


        2.1 ความสำคัญของการจัดการสารสนเทศต่อบุคคล
        การจัดการสารสนเทศมีความสำคัญต่อบุคคลในด้านการดำรงชีวิตประจำวัน การศึกษา และการ
ทำงานประกอบอาชีพ ต่างๆ การจัดการสารสนเทศอย่างเป็นระบบ โดยการจัดทำฐานข้อมูลส่วนบุคคลรวบรวมทั้งข้อมูลการดำรงชีวิต การศึกษา และการทำงานประกอบอาชีพต่างๆ ในการดำรงชีวิตประจำวันบุคคลย่อมต้องการสารสนเทศหลายด้านเพื่อใช้ชีวิตได้อย่างราบรื่น มีความก้าวหน้า และมีความสุข อาทิต้องการสารสนเทศเพื่อการดูแลรักษาสุขภาพ ต้องจัดการค่าใช้จ่ายในครอบครัว ค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล การดูแลอาคารที่อยู่อาศัยต่างๆ ตลอดจนการเลี้ยงดูคนในครอบครัวให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถที่ทำคุณประโยชน์แก่สังคม


        2.2 ความสำคัญของการจัดการสารสนเทศต่อองค์การ
        การจัดการสารสนเทศมีความสำคัญต่อองค์การในด้านการบริหารจัดการ การดำเนินงาน และ
กฎหมาย ดังนี้
        1) ความสำคัญด้านการบริหารจัดการ การบริหารจัดการในยุคโลกาภิวัตน์เป็นการบริหารภายใต้
สภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และมีการแข่งขันกันทางธุรกิจสูง ผู้บริหารต้องอาศัยสารสนเทศที่เกี่ยวข้องทั้งกับสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์การ เพื่อวิเคราะห์ปัญหา ทางเลือกในการแก้ปัญหาการตัดสินใจ การกำหนดทิศทางขององค์การ ให้สามารถแข่งขันกับองค์การคู่แข่งต่างๆ จึงจำเป็นต้องได้รับสารสนเทศ ที่เหมาะสม ถูกต้อง ครบถ้วน ทันการณ์ และทันสมัย เพื่อใช้ประกอบภารกิจตามหน้าที่ ตามระดับการบริหาร การจัดการสารสนเทศจึงนับว่ามีความสำคัญ ความจำเป็นที่ต้องมีการออกแบบระบบการจัดการสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ การเลือกใช้เครื่องมือ เทคโนโลยี รวมทั้งกำหนดนโยบาย กระบวนการและกฎระเบียบ เพื่อจัดการสารสนเทศให้เหมาะกับสภาพการนำสารสนเทศไปใช้ในการบริหารงาน ในระดับต่างๆไม่ว่าจะเป็นระดับต้นหรือปฏิบัติการ ระดับกลาง และระดับสูง ให้สามารถบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
        2) ความสำคัญด้านการดำเนินงาน สารสนเทศนับมีความสำคัญต่อการดำเนินงานในหลายลักษณะเป็นทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการดำเนินงาน และหลักฐานที่บันทึกการดำเนินงานในด้านต่างๆ ตามที่หน่วยงานดำเนินการ การจัดการสารสนเทศช่วยให้การใช้สารสนเทศเพื่อรองรับการปฏิบัติงานตามกระแสงานหรือขั้นตอน จึงสามารถเพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการดำเนินงาน เอื้อให้เข้าถึงและใช้สารสนเทศได้อย่างสะดวก การเป็นหลักฐานที่บันทึกการดำเนินงานเช่น สัญญาการตกลงลงนามร่วมกิจการระหว่างองค์การ รายงานทางการเงินประจำปี เป็นต้น เป็นสารสนเทศที่หน่วยงานผลิตและใช้ประกอบการดำเนินงานตาม ภาระหน้าที่ ตามข้อกำหนด ระเบียบ และแนวปฏิบัติในองค์การ สารสนเทศเหล่านี้ต้องมีการรวบรวม ประมวล และจัดอย่างเป็นระบบเพื่อให้มีความเป็นปัจจุบัน ถูกต้อง ครบถ้วนและเหมาะสมกับงานนั้น และในการจัดการ สารสนเทศที่แม้สิ้นสุดกระบวนการปฏิบัติงานแล้ว โดยเฉพาะสารสนเทศที่มีคุณค่า ยังต้องมีการจัดเก็บเป็นจดหมายเหตุเพื่อการใช้ประโยชน์
        3) ความสำคัญด้านกฎหมาย การจัดการสารสนเทศเพื่อการดำเนินงาน จำเป็นต้องสอดคล้องกับ
กฎหมาย กฎ ระเบียบและข้อบังคับทั้งในระดับภายในและภายนอกองค์การ โดยเฉพาะสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการเงินและบัญชีที่ต้องรวบรวมจัดเก็บอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบ รวมทั้งมีการตรวจสอบความถูกต้องทั้งจากหน่วยงานภายในองค์การ หรือจากหน่วยงานภายนอกตามกฎหมาย เช่น ผู้ตรวจสอบบัญชีตามกฎหมายของหน่วยงานราชการ เช่น กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และหน่วยงานเอกชน เป็นต้น เพื่อเป็นการแสดงสถานะทางการเงินขององค์การอย่างถูกต้อง และเป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับต่างๆ อย่างครบถ้วน ทั้งนี้


        3. พัฒนาการของการจัดการสารสนเทศ
        นักวิชาการด้านสารสนเทศศาสตร์บางคนได้กล่าวไว้ว่า การถกเถียงอภิปรายถึงความหมายของคำว่าสารสนเทศ จะไม่เกิดคุณค่าใดๆ หากไม่พิจารณาความหมายลึกลงไปในแง่การปฏิบัติงานกับสารสนเทศหรือคือ การจัดการสารสนเทศ ทั้งนี้เพราะการศึกษาสารสนเทศศาสตร์ ในแง่มุมหนึ่งคือการประยุกต์ด้านการปฏิบัติงานเพื่อการจัดการสารสนเทศ และการจัดการสารสนเทศก็เป็นสิ่งที่มนุษย์ได้กระทมาเป็นระยะเวลายาวนานนับแต่รู้จักคิดค้นการขีดเขียน บันทึกข้อมูล การจัดการสารสนเทศโดยทั่วไป แบ่งอย่างกว้างๆได้เป็น 2 ยุค เป็นการจัดการสารสนเทศด้วยระบบมือ และการจัดการสารสนเทศโดยใช้คอมพิวเตอร์


        3.1 การจัดการสารสนเทศด้วยระบบมือ
        การจัดการสารสนเทศเริ่มต้นเมื่อมีการสร้างอารยธรรมในด้านการบันทึกความรู้ ราว 2,000 - 8,000ปีก่อนคริสตศักราช อียิปต์โบราณใช้กระดาษปาปิ รัสเขียนบันทึกข้อมูล หอสมุดอเล็กซานเดรีย (Library ofAlexandria) สร้างโดยพระเจ้าปโทเลมีที่ 1 ในช่วง 285 ปีก่อนคริสตศักราช เป็นคลังความรู้ที่ยิ่งใหญที่สุดในโลกยุคโบราณ จัดเก็บกระดาษปาริรัสที่เขียนบันทึกวิชาการแขนงต่างๆ ถึง 7 แสนกว่าม้วนไว้ในกระบอกทรงกลม และต่อมาในได้มีการใช้หนังสัตว์เย็บเป็นรูปเล่มหนังสือ เรียกว่าโคเด็กซ์ (codex) ในสมัยของเปอร์กามัม(Pergamum) แห่งกรีก ในช่วง 197-159 ปีก่อนคริสตศักราช

        3.2 การจัดการสารสนเทศโดยใช้คอมพิวเตอร์
        การจัดการสารสนเทศเกิดขึ้นโดยใช้คอมพิวเตอร์ เมื่อสารสนเทศมีปริมาณมากมาย รูปลักษณ์
หลากหลายคอมพิวเตอร์มีพัฒนาการของจากอดีตถึงปัจจุบัน ปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว ในระยะแรก ตั้งแต่ค.ศ. 1946 มีการประดิษฐ์คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่ใช้เทคโนโลยีหลอดสูญญากาศ ใช้ในงานค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ การสำรวจสำมะโนประชากร ซึ่งต่อมา เครื่องคอมพิวเตอร์พัฒนามาใช้เทคโนโลยีทรานซิสเตอร์มีขนาดเล็กลง และนำมาใช้ในงานทางด้านคณิตศาสตร์และวิศวกรรม ช่วงทศวรรษที่ 1960 คอมพิวเตอร์เริ่มใช้แผงวงจรรวมหรือไอซี และแผงวงจรรวมขนาดใหญ่ และนำมาใช้งานการสื่อสารข้อมูล และงานฐานข้อมูล เพื่อลดภาระงานประจำโดยทรัพยากรอยู่ในรูปของกระดาษ เห็นได้ว่าคอมพิวเตอร์ถูกพัฒนานำมาใช้งานตามสมรรถนะที่เพิ่มขึ้น

        การจัดการสารสนเทศ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ถูกต้องน่าเชื่อถือ สามารถนำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น จะต้องมีขั้นตอนการจัดการที่ดีและเป็นระบบ โดยเริ่มตั้งแต่ การรวบรวมข้อมูล การตรวจสอบข้อมูล การประมวลผลข้อมูล และการดูแลรักษา ซึ่งจะแยกเป็นรายละเอียดดังต่อไปนี้


        1) การรวบรวมข้อมูล
        การเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งมีจำนวนมาก จะต้องมีการดำเนินการที่รอบคอบและเป็นระบบ ข้อมูลบางอย่างต้องเก็บให้ทันเวลา เช่น การลงทะเบียนเรียนของนักเรียน ประวัตินักเรียน ผลการเรียนของนักเรียนการมาเรียน ความประพฤติ การยืมคืนหนังสือห้องสมุด ซึ่งใน ปัจจุบันจะมีการนำเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาช่วยในการจัดเก็บ โดยการนำข้อมูลที่กรอกลงในแบบกรอกข้อมูลที่เป็นกระดาษมาป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือการอ่านข้อมูลจากบัตรประจำตัวนักเรียนที่มีรหัสแท่งเพื่อลงเวลามาเรียน ใช้ในการยืมคืนหนังสือ การป้อนข้อมูลความประพฤติของนักเรียนเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์
        2) การตรวจสอบข้อมูล
        เมื่อมีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วจำเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อมูล เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง
ข้อมูลที่เก็บเข้าในระบบจะต้องมีความเชื่อถือได้ หากพบที่ผิดพลาดต้องแก้ไข ทั้งนี้ข้อมูลที่ถูกต้องจะส่งผลทำให้สารสนเทศที่ได้มีความถูกต้องน่าเชื่อถือ นำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

        3)การประมวลผลข้อมูลให้กลายเป็นสารสนเทศ
        การจัดข้อมูลเป็นหมวดหมู่ตามลักษณะของข้อมูล ข้อมูลที่จัดเก็บจะต้องมีการแบ่งแยกกลุ่ม เพื่อเตรียมไว้สำหรับการใช้งาน เช่น ข้อมูลนักเรียนในโรงเรียนมีการแบ่งเป็นแฟ้มทะเบียนประวัตินักเรียน และแฟ้มรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียน แฟ้มความประพฤตินักเรียน แฟ้มการมาเรียน ข้อมูลในห้องสมุด ก็มีการแบ่งเป็นแฟ้มหนังสือแฟ้มสมาชิกห้องสมุด แฟ้มการยืมคืนหนังสือ ทั้งนี้การจัดข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ ก็เพื่อสะดวกในการค้นหา สืบค้นเพื่อนำข้อมูลมาใช้งาน หรือประมวลผลให้เป็นสารสนเทศต่างๆ ตามที่ต้องการแนวทางในการประมวลผลข้อมูลมีดังนี้
-การจัดเรียงข้อมูล การจัดเรียงข้อมูลส่วนใหญ่จะมีการจัดเรียงตามลำดับ ตัวเลข หรือตัวอักษร หรือเพื่อให้เรียกใช้งานได้ง่ายประหยัดเวลา ข้อมูลที่จัดเก็บไม่ว่าจะเป็นระบบงานข้อมูลด้านใดก็ตาม จะมีการจัดเรียงข้อมูลไว้เพื่อช่วยในการค้นหาข้อมูลเสมอ เช่น การจัดเรียงบัตรข้อมูลผู้แต่งหนังสือในตู้บัตรรายการของห้องสมุดตามลำดับตัวอักษร การจัดเรียงชื่อคนในสมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์ การจัดเรียงรายชื่อนักเรียนตามเลขประจำตัว ตามหมายเลขห้อง ตามเลขที่ของนักเรียน เป็นต้น

        4) การดูแลรักษาสารสนเทศ
        การดูแลสารสนเทศเพื่อการใช้งาน ประกอบด้วย การเก็บรักษาข้อมูล เมื่อมีการบันทึกข้อมูลไว้
ในระบบแล้วจะต้องมีการดูแลเก็บรักษาข้อมูลเหล่านั้นไว้เพื่อมิให้สูญหาย เพราะถ้าดูแลรักษาไม่ดี จะต้องมีการรวบรวมใหม่ซึ่งหมายถึงการสูญเสียเวลาในการทำงาน การดูแลรักษาข้อมูลจะต้องมีการ การนำข้อมูลมาบันทึกเก็บไว้ในสื่อบันทึกต่างๆ เช่น แผ่นบันทึกข้อมูล และทำสำเนาข้อมูล เพื่อให้ใช้งานต่อไปได้
        5)การสื่อสาร
        ข้อมูลที่จัดเก็บจะต้องกระจายหรือส่งต่อไปยังผู้ใช้งานที่ห่างไกลได้ง่าย การสื่อสารข้อมูลจึงเป็น
เรื่องสำคัญและมีบทบาทที่สำคัญยิ่งที่จะทำให้การส่งข่าวสารไปยังผู้ใช้ทำได้รวดเร็วและทันเวลา เช่น การสืบค้นข้อมูลหนังสือห้องสมุดผ่านระบบเครือข่าย ระบบสอบถามผลการเรียน การรายงานผลการเรียนของนักเรียนผ่านระบบเครือข่าย เป็นต้น


4. แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการสารสนเทศ
        การจัดการสารสนเทศ (information management) ในอดีตมักมุ่งที่การจัดเก็บสารสนเทศเพื่อ
การเรียกใช้อย่างง่าย เป็นการจัดเก็บจัดเรียงตามประเภทสื่อที่ใช้บันทึก หรือตามขนาดใหญ่เล็กของเอกสารรูปเล่มหนังสือเป็นต้น และต่อมา เมื่อสารสนเทศมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น มีหลายรูปแบบ การใช้ประโยชน์ในหลายวงการ ทั้งวงการธุรกิจ ภาครัฐ วิชาการและวิชาชีพต่างๆ ประกอบกับเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้การจัดการสารสนเทศมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น การจัดการสารสนเทศเป็นทั้งการจัดการการผลิต รวบรวม จัดเก็บ และการค้นเพื่อใช้ได้อย่างสะดวก มีระบบที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล


5. การจัดการสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
        ความต้องการที่จะปรับปรุงการจัดการสารสนเทศเป็นที่สนใจในหลายๆ องค์กร โดยอาจถูกผลักดันจากหลากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น ความต้องการที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการทางธุรกิจ การปรับปรุงเพื่อให้ถูกต้องตามกฎระเบียบที่วางไว้ รวมถึงความต้องการที่จะเปิดใช้บริการใหม่ๆ ในหลายกรณีการจัดการสารสนเทศ หมายถึง การนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ เช่น ระบบจัดการเนื้อหาหรือเอกสารระบบคลังข้อมูล ระบบเว็บไซด์ท่า โครงการเหล่านี้น้อยรายที่จะประสบความสำเร็จ การสร้างการจัดการสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย มีหลายประเด็นต้องคำนึงถึง เช่น การเชื่อมต่อระบบต่างๆ เข้าด้วยกัน ความต้องการทางธุรกิจที่หลากหลาย รวมถึงความซับซ้อนของโครงสร้างและวัฒนธรรมองค์กร ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จของโครงการการจัดการสารสนเทศ ต้องมีแบบแผนและหลักการที่สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนและพัฒนาระบบได้ การจัดการสารสนเทศ เป็นคำกว้างๆ ที่ครอบคลุมระบบและกระบวนการทั้งหมดในองค์กรที่ใช้ในการสร้างและใช้งานสารสนเทศในองค์กร ในเชิงเทคโนโลยีการจัดการสารสนเทศ













วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ


บทที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ


1. องค์ประกอบของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
พื้นฐานของเทคโนโลยีสารสนเทศสืบเนื่องมาจากการพัฒนาแบบก้าวกระโดดของอุปกรณ์
อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ ใยแก้วนำแสง ดาวเทียมสื่อสาร ระบบเครือข่าย ซอฟต์แวร์
และมัลติมีเดีย กอปรกับราคาของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่ถูกลง แต่มีขีดความสามารถในการทำงานที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้แนวโน้มการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้งานต่างๆ นั้นมีมากขึ้นเป็นลำดับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นอาจกล่าวได้ว่าประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีสองสาขาหลักคือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม สำหรับรายละเอียดพอสังเขปของแต่ละเทคโนโลยีมีดังต่อไปนี้คือ
1.1 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจดจำข้อมูลต่างๆ และปฏิบัติตามคำสั่งที่บอก เพื่อ
ให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้ คอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยอุปกรณ์ต่างๆ ต่อเชื่อมกันเรียกว่าฮาร์ดแวร์ (Hardware) และอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์นี้จะต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือที่เรียกกันว่าซอฟต์แวร์ (Software) (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2546, 4)
        1) ฮาร์ดแวร์ ประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ อุปกรณ์รับข้อมูล อุปกรณ์ส่งข้อมูล หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำหลักและหน่วยความจำสำรอง
- อุปกรณ์รับข้อมูล (Input) เช่น แผงแป้นอักขระ (Keyboard), เมาส์, เครื่องตรวจ
กวาดภาพ (Scanner), จอภาพสัมผัส (Touch Screen), ปากกาแสง (Light Pen), เครื่องอ่าน
บัตรแถบแม่เหล็ก (Magnetic Strip Reader), และเครื่องอ่านรหัสแท่ง (Bar Code Reader)
- อุปกรณ์ส่งข้อมูล (Output) เช่น จอภาพ (Monitor), เครื่องพิมพ์ (Printer), และเทอร์มินัล
- หน่วยประมวลผลกลาง จะทำงานร่วมกับหน่วยความจำหลักในขณะคำนวณหรือประมวลผล โดย
ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยการดึงข้อมูลและคำสั่งที่เก็บไว้ไว้ในหน่วยความจำหลักมาประมวลผล
- หน่วยความจำหลัก มีหน้าที่เก็บข้อมูลที่มาจากอุปกรณ์รับข้อมูลเพื่อใช้ในการคำนวณ และ
ผลลัพธ์ของการคำนวณก่อนที่จะส่งไปยังอุปกรณ์ส่งข้อมูล รวมทั้งการเก็บคำสั่งขณะกำลังประมวลผล
- หน่วยความจำสำรอง ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมขณะยังไม่ได้ใช้งาน เพื่อการใช้ในอนาคต
        2) ซอฟต์แวร์ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญและจำเป็นมากในการควบคุมการทำงานของเครื่อง
คอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ซอฟต์แวร์ระบบและซอฟต์แวร์ประยุกต์
ซอฟต์แวร์ระบบ มีหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในระบบคอมพิวเตอร์ และเป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์หรือฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ระบบสามารถแบ่งเป็น 3 ชนิดใหญ่ คือ
- โปรแกรมระบบปฏิบัติการใช้ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์พ่วงต่อกับ
เครื่องคอมพิวเตอร์ตัวอย่างโปรแกรมที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน เช่น UNIX,DOS, MicrosoftWindows
- โปรแกรมอรรถประโยชน์ ใช้ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในระหว่างการประมวลผลข้อมูลหรือในระหว่างที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างโปรแกรมที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน เช่น โปรแกรมเอดิเตอร์ (Editor)
- โปรแกรมแปลภาษา ใช้ในการแปลความหมายของคำสั่งที่เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในรูปแบบ
ที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจและทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ

http://cdn.learners.in.th/assets/media/files/000/109/189/original_computer.gif?1285374195

1.2 เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม
เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม ใช้ในการติดต่อสื่อสารรับ/ส่งข้อมูลจากที่ไกลๆ เป็นการส่งของข้อมูล
ระหว่างคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือที่อยู่ห่างไกลกัน ซึ่งจะช่วยให้การเผยแพร่ข้อมูลหรือสารสนเทศไปยังผู้ใช้ในแหล่งต่างๆ เป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน และทันการณ์ ซึ่งรูปแบบของข้อมูลที่รับ/ส่ง
http://life.cpru.ac.th/E%20leaning/22%20Information%20technology%20to%20life/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%203.files/image004.gif

2. วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ
วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศจากยุคอนาลอกสู่ยุคดิจิตอลนั้น มีความเป็นมาที่ยาวนาน
มากกว่าที่จะมาเป็นเทคโนโลยีที่ ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบันนี้ บางช่วงใช้เวลาในการค้นคิดนานเป็นพันปีโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง บางช่วงก็เร็วมาก หากสังเกตจะเห็นว่าในปัจจุบันการค้นคิดเทคโนโลยีเหล่านี้เปลี่ยนไปอย่างเร็วมากจนผู้ใช้แทบจะตามไม่ทัน ซึ่งความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยทำให้มองภาพในอนาคตของเทคโนโลยีเหล่านี้ได้
การวิวัฒนาทางด้านเทคโนโลยีแบ่งเป็น 2 ด้านที่ควบคู่กันมา คือ วิวัฒนาการทางด้านคอมพิวเตอร์
และวิวัฒนาการทางด้านการสื่อสาร ซึ่งจะหมายรวมถึงลักษณะของข้อมูลหรือสารสนเทศที่ใช้ในการสื่อสารรายละเอียดของวิวัฒนาการของแต่ละเทคโนโลยีสามารถศึกษาได้จากรูปภาพต่อไปนี้

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjT-_EZAlxZZq2BBFJObS2N9GZdCFgsFicl1G9iDeIRYIxaYbbfNI3EK79tfWGefqI1htdnhyphenhyphenHenw4uc9L19LBEFLfhyphenhyphenJ7VHThwIncB_Aguckk31rbzoTAycov9an2hw1bP38M3eglYRss/s1600/apple1.GIF

เมื่อมีความเข้าใจเกี่ยวกับวิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์และการสื่อสารในยุคต่างๆ แล้ว ควรมี
ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะของข้อมูลหรือสารสนเทศที่ส่งผ่านระบบคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร ดังนี้
ข้อมูลหรือสารสนเทศที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในระบบสื่อสาร เช่น ระบบโทรศัพท์ จะมีลักษณะของสัญญาณ
เป็นคลื่นแบบต่อเนื่องที่เราเรียกว่า “สัญญาณอนาลอก” แต่ในระบบคอมพิวเตอร์จะแตกต่างไป เพราะระบบคอมพิวเตอร์ใช้ระบบสัญญาณไฟฟ้าสูงต่ำสลับกัน เป็นสัญญาณที่ไม่ต่อเนื่อง เรียกว่า “สัญญาณดิจิตอล”ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นจะส่งผ่านสายโทรศัพท์ เมื่อเราต้องการส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่องอื่นๆ ผ่านระบบโทรศัพท์ ก็ต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วยแปลงสัญญาณเสมอ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า “โมเด็ม” (Modem)

บทที่ 3 การรู้สารสนเทศ




บทที่ 3 การรู้สารสนเทศ


1. ความหมาย
ในสังคมปัจจุบันซึ่งเป็นสังคมแห่งสารสนเทศ บุคคลในสังคมจำเป็นต้องรับข้อมูลข่าวสารอย่าง
ท่วมท้น บุคคลทุกคนจำเป็นต้องมีการพัฒนาตนเอง เพื่อรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้อย่างเหมาะสมและถูกต้องคนในสังคมปัจจุบันจึงต้องมีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา เพื่อการเท่าทันในข้อมูลข่าวสารที่หลากหลาย สังคมปัจจุบันจึงเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การศึกษาต้องมุ่งเพิ่มขีดความสามารถและโอกาสในการเรียนรู้ของบุคคล และพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศให้แก่บุคคลในสังคมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสามารถนำความรู้ไปใช้ในสังคมได้อย่างยั่งยืน นักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายของคำว่า การรู้สารสนเทศครอบคลุม การมีพฤติกรรมเข้าถึงสารสนเทศที่เหมาะสมอย่างมีความคิดและจริยธรรม โดยผ่านช่องทางหรือสื่อใดๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศตามความต้องการ (SUNY Council of Library Directors Information Literacy Innitiative,2003) ซึ่งสรุปได้ว่า การรู้สารสนเทศ หมายถึงการรู้ถึงควาจำเป็นของสารสนเทศ (ข้อมูลข่าวสาร) การเข้าถึงแหล่งสารสนเทศ การพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การวิเคราะห์และประเมินสารสนเทศ การจัดระบบประมวลสารสนเทศ การประยุกต์ใช้สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจที่มีประสิทธิผลและสร้างสรรค์ การสรุปอ้างอิงและสื่อสารข่าวสารอย่างมีประสิทธิภาพ ความเข้าใจและยอมรับในจริยธรรมของข้อมูลข่าวสารการพัฒนาเจตคตินำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิตดังนั้นการรู้สารสนเทศของบุคคล จะช่วยส่งเสริมให้บุคคลสามารถเข้าถึงสารสนเทศจากทั่วทุกมุมโลก และนำสารสนเทศออกเป็นความรู้ เพื่อนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นับเป็นการส่งเสริมเสรีภาพในการเรียนรู้ของทุกคนอย่างแท้จริง


2. ความเป็นมา
จากวรรณคดีและงานวิจัยจากองค์กรและสถาบันต่างๆ ได้แก่ American Association of School
Librarians & Association for Educational Communications and Technology (2004) และ The Big
6 Center for Media Literacy National Skills Standard Board (Eisenberg and Berkowitz (2005)
สามารถจำแนกทักษะการเรียนรู้ในทศวรรษที่ 21 ได้เป็น 4 ลักษณะคือ
        1.ทักษะสารสนเทศและการสื่อสารได้แก่ ทักษะการรู้สารสนเทศและการรู้สื่อ ทักษะการสื่อสาร
        2.ทักษะการคิดและการแก้ปัญหา ได้แก่ การคิดวิเคราะห์ และการคิดเป็นระบบ การระบุปัญหาการดำเนินการและแนวทางการแก้ปัญหา ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และความใฝ่รู้เชิงปัญญา
        3.ทักษะปฏิสัมพันธ์และการชี้นำตนเอง ได้แก่ ทักษะการปฏิสัมพันธ์และการประสานร่วมมือ การชี้นำตนเอง การเป็นที่น่าเชื่อถือ และการปรับตัว
        4. การรับผิดชอบต่อสังคมจากทักษะการเรียนรู้ดังกล่าว จะเห็นได้ว่า ทักษะการรู้สารสนเทศ เป็นทักษะหนึ่งที่จำเป็นยิ่งสำหรับการเรียนรู้ในทศวรรษนี้


3. องค์ประกอบของการรู้สารสนเทศ
องค์ประกอบของการรู้สารสนเทศประกอบด้วย ความเข้าใจ และความสามารถส่วนบุคคลที่ตระหนัก
ถึงความจำเป็นของสารสนเทศ โดยต้องมีความสามารถดังต่อไปนี้
        1) ความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศ ประกอบด้วยความสามารถทางกายภาพ และสติปัญญา
ในการเข้าถึงสารสนเทศ ในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยี สามารถระบุแหล่งและสืบค้น ด้วยการใช้ความรู้และกลยุทธ์เพื่อคัดสรร แก้ไข วิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์และสื่อสาร กับฐานข้อมูลทั่วไป และฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เช่นซีดีรอม อินเทอร์เน็ต เป็นต้น
        2) ความสามารถในการประเมินสารสนเทศ ประกอบด้วยความสามารถในการสังเคราะห์ หรือตีความ
สามารถตัดสินใจได้ว่าแหล่งสารสนเทศใดมีความน่าเชื่อถือ โดยอาศัยข้อเท็จจริงและความเที่ยงตรง ซึ่งเป็น
พื้นฐานสำคัญในการประเมินสารสนเทศ


4. คุณลักษณะและความสามารถในการรู้สารสนเทศ
SUNY Council of Library Directors Information Literacy Initiative (2003) ได้ เสนอ
คุณลักษณะและความสามารถในการรู้สารสนเทศของบุคคลดังนี้
        1) ตระหนักถึงความจำเป็นของสารสนเทศ
        2) สามารถกำหนดขอบเขตของสารสนเทศที่จำเป็น
        3) เข้าถึงสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
        4) ประเมินสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศได้
        5) นำสารสนเทศที่คัดสรรแล้วสู่พื้นความรู้เดิมได้
        6) มีประสิทธิภาพในการใช้สารสนเทศได้ตรงตามวัตถุประสงค์
        7) เข้าใจประเด็นทางเศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรมและกฎหมายในหารใช้สารสนเทศ
        8) เข้าถึงและใช้สารสนเทศได้อย่างมีจริยธรรมและถูกกฎหมาย
        9) แบ่งประเภทจัดเก็บและสร้างความเหมาะสมให้กับสารสนเทศที่รวบรวมไว้
        10) ตระหนักว่าการรู้สารสนเทศช่วยให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต


5. มาตรฐานของผู้รู้สารสนเทศ
American Association of School Librarians & Association for Educational Communications
and Technology (2004) ได้เสนอมาตรฐานของผู้รู้สารสนเทศไว้ 3 ระดับด้วยกัน กล่าวคือ มาตรฐานทั่วไป
ประกอบด้วย มาตรฐานที่1-3 การเรียนรู้อย่างอิสระประกอบด้วยมาตรฐานที่ 4-6 และความรับผิดชอบต่อ
สังคมประกอบด้วยมาตรฐานที่7-8 ดังต่อไปนี้
มาตรฐานที่ 1 ผู้เรียนเข้าถึงสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
มาตรฐานที่ 2 ผู้เรียนประเมินสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณ และอย่างมีความสามารถ
มาตรฐานที่ 3 ผู้เรียนให้สารสนเทศอย่างถูกต้องและสร้างสรรค์ การเรียนรู้อย่างอิสระ
มาตรฐานที่ 4 ผู้เรียนมีอิสระในการเรียนรู้ ต้องรู้สารสนเทศ และแสวงหาสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับ

ความสนใจส่วนตัวได้
มาตรฐานที่ 5 ขั้นประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Evaluation) เป็นการวิเคราะห์สารสนเทศ
ที่สืบค้นได้จากแหล่งต่าง ๆ และนำเสนอสารสนเทศ
มาตรฐานที่ 6 ผู้เรียนที่มีอิสระในการเรียนรู้ ต้องรู้สารสนเทศ ต้องมุ่งแสวงหาสารสนเทศ และสร้าง
องค์ความรู้อย่างยอดเยี่ยม ความรับผิดชอบต่อสังคม
มาตรฐานที่ 7 ผู้เรียนสร้างประโยชน์ต่อชุมชนแห่งการเรียนรู้และสังคม เป็นผู้รู้สารสนเทศและ
ตระหนักถึงความสำคัญของสารสนเทศที่มีต่อสังคมประชาธิปไตย
มาตรฐานที่ 8 ผู้เรียนสร้างประโยชน์ต่อชุมชนแห่งการเรียนรู้และสังคม เป็นผู้รู้สารสนเทศ และฝึกฝน
ให้มีพฤติกรรมที่มีจริยธรรม อันเกี่ยวข้องกับสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ
การรู้สารสนเทศจึงเป็นกระบวนการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศโดยต้องจัดกิจกรรม
การเรียนรู้ในบริบทของทุกอย่างในชีวิตของบุคคล เพื่อความสำเร็จโดยบูรณาการทั้งในหลักสูตรของการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย


6. แนวทางการส่งเสริมการรู้สารสนเทศ
แนวทางการส่งเสริมการรู้สารสนเทศมีหลายแนวทาง หากแนวทางที่มีรูปธรรมชัดเจนจากประเทศ
สหรัฐอเมริกา คือ TheBig 6 Skills Model ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยนักการศึกษาชื่อ Mike Eisenberg และ Bob
Berkowitz (2001-2006) โดยได้นำไปใช้ตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงระดับอุดมศึกษา เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย มีการนำไปประยุกต์เพื่อการเรียนการสอนทักษะสารสนเทศในสถาบันการศึกษาต่างๆ โดยมี 6 ขั้นตอน ได้แก่
        ขั้นตอนที่ 1 การกำหนด ภาระงาน (Task Definition) เป็นการระบุปัญหา หรือกำหนดขอบเขต
ของสารสนเทศที่ต้องการใช้ และกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อการค้นหาสารสนเทศในขั้นต่อไป
        ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดกลยุทธ์แสวงหาสารสนเทศ (Information Seeking Strategies) เป็นการ
กำหนดว่าแหล่งสารสนเทศใดมีสารสนเทศที่ต้องการ และประเมินความเหมาะสมของแหล่งสารสนเทศกับปัญหาที่ได้กำหนดไว้ข้างต้น เพื่อให้สารสนเทศได้ตรงกับความต้องการอย่างแท้จริง
        ขั้นตอนที่ 3 การกำหนดแหล่งสารสนเทศและการเข้าถึงสารสนเทศ (Location and Access)
เป็นการระบุแหล่งที่อยู่ของสารสนเทศและค้นหาสารสนเทศตามแหล่งสารสนเทศที่ได้กำหนดไว้
        ขั้นตอนที่ 4 การใช้สารสนเทศ (Use of Information) เป็นการอ่าน พิจารณาสารสนเทศที่ต้องการ
และคัดเลือกข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องออกมาใช้ได้ตรงกับที่ต้องการ
        ขั้นตอนที่ 5 ขั้นประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Evaluation) เป็นการวิเคราะห์สารสนเทศ
ที่สืบค้นได้จากแหล่งต่างๆ และนำเสนอสารสนเทศ

        ขั้นตอนที่ 6 ขั้นประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Evaluation) เป็นการวิเคราะห์สารสนเทศ
ที่สืบค้นได้จากแหล่งต่างๆ และนำเสนอสารสนเทศสำหรับในประเทศงานวิจัยการพัฒนารูปแบบการรู้สารสนเทศสำหรับสังคมไทย (อาชัญญา รัตนอุบล และคณะ, 2550) ได้สังเคราะห์และพัฒนารูปแบบการรู้สารสนเทศสำหรับสังคมไทยขึ้นโดยมีพื้นฐาน
จาก The Big 6 Skills Model ดังกล่าวข้างต้น มี 4 ขั้นตอนได้แก่
        1) กำหนดภารกิจคือต้องการรู้อะไรปัญหาหรือข้อสงสัยคืออะไร
        2) ตรงจุดเข้าถึงแหล่งคือการหาคำตอบว่าอยู่ที่ไหน มีวิธีเข้าถึงและการใช้แหล่งความรู้ได้อย่างไร
        3) ประเมินสารสนเทศ คือ การคัดสรรสารสนเทศอย่างไรให้ตรงกับสิ่งที่ต้องการรู้ และน่าเชื่อถือ
        4) บูรณาการวิถีการใช้งาน คือ การมีวิธีใดใช้ในการนำสิ่งที่ค้นพบมาสรุป นำเสนอและสื่อสารกับผู้
อื่นประยุกต์ใช้แก้ปัญหาใช้อย่างมีจรรยาบรรณและถูกกฎหมาย


7.ประโยชน์ของการรู้สารสนเทศ
จากผลการวิจัยการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างการรู้สารสนเทศสำหรับสังคมไทย (อาชัญญา รัตนอุบลและคนอื่นๆ, 2549) พบว่ารูปแบบการเสริมสร้างการรู้สารสนเทศ 4 ขั้นตอนคือ กำหนดภารกิจ ตรงจุดเข้าถึงแหล่ง ประเมินสารสนเทศ และบูรณาการวิถีการใช้งาน ได้ถูกนำไปใช้ โดยส่วนใหญ่ผู้สอนเริ่มเข้าใจและให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมการรู้สารสนเทศให้แก่ผู้เรียนของตน และพยายามคิดค้นกลยุทธ์ในการเสริมสร้างการเสริมสร้างการรู้สารสนเทศให้เหมาะสมกับธรรมชาติและบริบทของแต่ละท้องถิ่น โดยผู้สอนได้อำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สารสนเทศทั้งในสถาบันการศึกษาและในชุมชน สำหรับความคิดเห็นของผู้เรียน พบว่า ผู้เรียนส่วนใหญ่มีความสุขและชอบการเรียนสารสนเทศ โดยเฉพาะขั้นตรงจุดเข้าถึงแหล่ง เพราะได้มีโอกาสแสวงหาความรู้จากแหล่งความรู้ได้ตามที่ตนต้องการ โดยผู้เรียนกำหนดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีโอกาสค้นคว้าศึกษาหาความรู้จากแหล่งความรู้ต่างๆทั้งจากโลกแห่งความเป็นจริงภายในและภายนอกสถาบันการศึกษา และโลกของอิเล็กทรอนิกส์












วันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2556

บทที่ 2 บทบาทสารสนเทศกับสังคม

บทที่ 2 บทบาทสารสนเทศกับสังคม


1. บทนำ
ปลายศตวรรษที่ 20 โลกได้เข้าสู่ยุคของการปฏิวัติด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information
Technology Revolution) มีการนำทรัพยากรสารสนเทศมาใช้งานอย่างกว้างขวาง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกระบวนการดำเนินงานซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร ทุกองค์กรนำกลไกการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ มีการนำเสนอข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบเพื่อควบคุมการปฏิบัติงาน มีการติดต่อสื่อสารและใช้คอมพิวเตอร์ในการตัดสินใจ รวมถึงการประมวลผลด้านต่างๆ
ในช่วงต้นศตวรรษที่ 21 แนวโน้มขององค์กรต่างๆ เริ่มมีการปรับฐานการลงทุนของภาคธุรกิจและ
อุตสาหกรรม ประกอบกับการปรับกระบวนการจัดการของภาครัฐบนฐานของความรู้เทคโนโลยีและการ
สื่อสารซึ่งทั้งหมดนี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว พร้อมกันนี้ทั่วโลกได้เล็งเห็นความสำ�คัญของการสร้างฐานความรู้ในสังคมท่ามกลางกระแสโลกาภิวัฒน์ รวมไปถึงการส่งเสริมให้สังคมมีนวัตกรรมเป็นของตนเอง เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันบนเวทีโลกและการเปิดโอกาสให้ประเทศต่างๆ เตรียมความพร้อมที่จะก้าวกระโดดในกระบวนการพัฒนา (Anthony. 2006)
การปฏิวัติด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้นำความเปลี่ยนแปลงมาสู่สังคมอย่างมาก เทคโนโลยีและ
การสื่อสารเข้ามามีบทบาทต่อการดำรงชีวิตและวิถีชีวิตของมนุษย์ในสังคม ทั้งด้านความเป็นอยู่ การสื่อสารการทำงาน การคมนาคมและขนส่ง ธุรกิจและอุตสาหกรรม การแพทย์ วัฒนธรรม และการศึกษา (C. andHuchinson. 2000)ในปัจจุบันนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นทำให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และการสื่อสารได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและมีขนาดเล็กลง หรือที่เรียกว่า “นาโนเทคโนโลยี (Nanotechnology)” ทำให้การสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างฉับพลันผ่านทางด่วนสารสนเทศ (Information Superhighway)เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้หลายพันล้านคนทั่วโลกและเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งช่วยให้การเข้าถึงสารสนเทศและบริการต่าง ๆ เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็วและไร้พรมแดน โดยอาจเรียกได้ว่าเป็น“สังคมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Society)” หรือ “ชุมชนอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Community)”(พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ. 2553)


2. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบัน
ในภาวะปัจจุบันนั้นสารสนเทศได้กลายเป็นปัจจัยพื้นฐานปัจจัยที่ห้า เพิ่มจากปัจจัยสี่ประการที่
มนุษย์เราขาดเสียมิได้ในการดำรงชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นสารสนเทศที่จำเป็น ในการประกอบธุรกิจ ในการค้าขาย การผลิตสินค้า และบริการ หรือการให้บริการสังคม การจัดการทรัพยากรของชาติ การบริหารและปกครอง จนถึงเรื่องเบาๆ เรื่องไร้สาระบ้าง เช่น สภากาแฟที่สามารถพบได้ทุกแห่งหนในสังคม เรื่องสาระบันเทิงในยามพักผ่อน ไปจนถึงเรื่องความเป็นความตาย เช่น ข่าวอุทกภัย วาตภัย หรือการทำรัฐประหารและปฏิวัติ เป็นต้นในความคิดเห็นของกลุ่มบุคคลต่างๆ ตั้งแต่นักวิชาการ นักธุรกิจ นักสังคมศาสตร์นักเศรษฐศาสตร์จนกระทั่งผู้นำต่างๆ ในโลก ดังเช่น ประธานาธิบดี Bill Clinton และรองประธานาธิบดี Al Gore ของสหรัฐอเมริกา สารสนเทศเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในปัจจุบัน และในยุคสังคมสารสนเทศแห่งศตวรรษที่ 21 สารสนเทศจะกลายเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดเหนือสิ่งอื่นใด กล่าวกันสั้นๆ สารสนเทศกำลังจะกลายเป็นฐานแห่งอำนาจอันแท้จริงในอนาคต ทั้งในทางเศรษฐกิจ และทางการเมืองในสมัยสังคมเกษตรนั้น ปัจจัยพื้นฐานในการผลิตที่สำคัญ ได้แก่ ที่ดิน แรงงาน และทุนทรัพย์ ต่อมาในสังคมอุตสาหกรรม การผลิตต้องพึ่งพาปัจจัยพื้นฐานเพิ่มเติม ได้แก่ วัสดุพลังงาน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสารสนเทศ สังคมเกษตรและสังคมอุตสาหกรรมต้องพึ่งพาการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด อันได้แก่ ที่ดินพลังงาน และวัสดุ เป็นอย่างมาก และผลของการใช้ทรัพยากรเหล่านั้นอย่างฟุ่มเฟือยและขาดความระมัดระวังก็ได้สร้างปัญหาสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงมาก ซึ่งกำลังคุกคามโลกรวมทั้งประเทศไทย ตั้งแต่ปัญหาการแปรปรวนของสภาพดินฟ้าอากาศ ภัยธรรมชาติที่นับวันจะเพิ่มความถี่และรุนแรงขึ้น ปัญหาการบ่อนทำลายความสมดุลทางนิเวศวิทยาทั้งป่าดงดิบ ป่าชายเลน ป่าต้น้ำลำธาร ความแห้งแล้ง อากาศเป็นพิษ แม่น้ำลำคลองที่เต็ม
ไปด้วยสารพิษเจือปน ตลอดจนถึงปัญหาวิกฤติทางจราจรและภัยจากควันพิษในมหานครทุกแห่งทั่วโลก
ในทางตรงกันข้ามขบวนการผลิต การเก็บ และถ่ายทอดสารสนเทศ อาศัยการใช้วัสดุและพลังงาน
น้อยมาก และไม่มีผลเสียต่อภาวะแวดล้อมหรือมีเพียงเล็กน้อยมาก ยิ่งกว่านั้นสารสนเทศจะสามารถช่วย
ให้กิจกรรมการผลิตและการบริการต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น สามารถช่วยให้การผลิตทาง
อุตสาหกรรมใช้วัตถุดิบ และพลังงานน้อยลง มีมลภาวะน้อยลง แต่สินค้ามีคุณภาพดีขึ้นคงทนมากขึ้น ปัญหาวิกฤติทางจราจรในบางด้านก็สามารถผ่อนปรนได้ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น ในการช่วยติดต่อสื่อสารทางธุรกิจต่างๆ โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางด้วยตนเองดังเช่นแต่ก่อน จึงอาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศจะมีส่วนอย่างมาก ในการนำสังคม สู่วิวัฒนาการอีกระดับหนึ่ง ที่อาจเรียกได้ว่าเป็น สังคมสารสนเทศ อันเป็นสังคมที่พึงปรารถนาและยั่งยืนยิ่งขึ้นนั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าสังคมต่างๆ ในโลก ต่างจะต้องก้าวสู่สังคมสารสนเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่เร็วก็ช้า และนั่นหมายความว่าสังคมจะต้องพึ่งพาเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างแน่นอน ไม่ว่าเราจะยอมรับหรือไม่ก็ตาม มิใช่เพียงแต่เพื่อสร้างขีดความสามารถในเชิงแข่งขันในสนามการค้าระหว่างประเทศ แต่เพื่อความอยู่รอดของมนุษยชาติ และเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอีกต่างหากด้วย นอกจากการเป็นเทคโนโลยีที่ไม่ทำลายธรรมชาติหรือสร้างมลภาวะ (ในตัวของมันเอง) ต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว คุณสมบัติโดดเด่นอื่น ๆ ที่ทำให้มันกลายเป็นเทคโนโลยี ยุทธศาสตร์สำคัญแห่งยุคปัจจุบันและในอนาคตก็คือ ความสามารถในการเพิ่มประสิทธิภาพและสมรรถภาพในเกือบทุกๆ กิจกรรม อาทิโดย

1) การลดต้นทุนหรือค่าใช้จ่าย
2) การเพิ่มคุณภาพของงาน
3) การสร้างกระบวนการหรือกรรมวิธีใหม่ๆ
4) การสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ขึ้น
ฉะนั้น โอกาสและขอบเขตการนำ เทคโนโลยีนี้มาใช้ จึงมีหลากหลายในเกือบทุกๆ กิจกรรมก็ว่าได้
ไม่ว่าจะเป็นการปกครอง การให้บริการสังคม การผลิตทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ รวมถึงการ
ค้าทั้งภายในและระหว่างประเทศอีกด้วย โดยพอสรุปได้ดังต่อไปนี้
ภาคสังคม การบริหารและปกครอง การให้บริการพื้นฐานของรัฐ การบริการสาธารณสุข การบริการ
การศึกษา การให้บริการข้อมูลและสาระบันเทิง การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
การบรรเทาสาธารณภัย การพยากรณ์อากาศและอุตุนิยม ฯลฯ
ภาคเศรษฐกิจ การเกษตร การป่าไม้ การประมง การสำรวจและขุดเจาะนำ้มันและก๊าซธรรมชาติ
การสำรวจแร่และทรัพยากรธรรมชาติทั้งบนและใต้ผิวโลก การก่อสร้าง การคมนาคมทั้งทางบก น้ำ และ
อากาศ การค้าภายในและระหว่างประเทศ อุตสาหกรรมการผลิต อุตสาหกรรมบริการ อาทิ ธุรกิจการท่อง
เที่ยว การเงิน การธนาคาร การขนส่ง และการประกันภัย ฯลฯ
ในปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของไทยมีความผูกพันอย่างแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นกับสังคมโลก ประมาณ
การว่า ในปี พ.ศ. 2536 การส่งออกมีมูลค่าขยายตัวถึงร้อยละ 12.8 ที่ 920 พันล้านบาท ขณะที่การนำเข้ามีอัตราขยายตัวถึงร้อยละ 12.7 ด้วยมูลค่า 1,150 พันล้านบาท การส่งออกที่มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 13.2 ของผลผลิตมวลรวมของประเทศในปี พ.ศ. 2515 ได้เติบโตอย่างต่อเนื่องจนมีขนาดเป็นร้อยละ 37.9 ในปี พ.ศ.2535 ย่อมชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการค้าระหว่างประเทศ และในทำนองเดียวกันของ เทคโนโลยีกลุ่มนี้ต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ


3. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาสังคม
เทคโนโลยีสารสนเทศจัดว่ามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศของทุกประเทศก็ว่าได้ ไม่
ว่าจะเป็น ประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือประเทศที่กำลังพัฒนา เพราะแม้ว่าเทคโนโลยีนี้จะยังไม่มีบทบาทโดดเด่นในการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมและการค้าในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมแต่ก็มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในด้านการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้านการจัดให้บริการสังคมพื้นฐาน (การศึกษาและ การสาธารณสุข ฯลฯ) ในการบริหารประเทศ และในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
ในปัจจุบันอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศได้กลายเป็นอุตสาหกรรมผลิตที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
มีการประมาณการว่าตลาดโลกสำหรับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ โทรคมนาคม และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ จะมีขนาด 1,600 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 1994 ด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ยถึงร้อยละ 20 ต่อปีการลงทุนในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดศักยภาพในการแข่งขัน จึงย่อมส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อเศรษฐกิจของนานาประเทศ จากผลการศึกษาใน 11 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกซึ่งมีทั้งประเทศที่ถือว่าพัฒนาแล้ว พัฒนาใหม่ และกำลังพัฒนา
ในช่วงทศวรรษที่แล้ว หลายประเทศมีความวิตกว่าเทคโนโลยีนี้จะลดการว่าจ้างงาน และทำให้เกิด
ปัญหาการตกงานอย่างรุนแรง อย่างไรก็ตาม ประสบการณ์ของประเทศที่พัฒนาแล้ว ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีนี้ในการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและในการสร้างกิจกรรมใหม่ๆ จนกล่าวได้ว่าในทางสังคมแล้ว เทคโนโลยีนี้จะช่วยเพิ่มการจ้างแรงงานโดยรวมมากกว่าจะลดตามที่เข้าใจกัน ปัจจุบันประเทศกำลังพัฒนาต่างเริ่มตระหนักถึง บทบาทของเทคโนโลยีนี้ต่อการพัฒนาสังคมตามประเทศที่พัฒนาแล้ว และเล็งเห็นว่ามันสามารถจะก่อเกิดประโยชน์ต่างๆ นานา เช่น ทำให้การบริการที่หน่วยงานต่างๆ ของรัฐให้แก่ประชาชนมีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงขึ้นแต่ต้นทุนต่ำลง ลดต้นทุนการบริการสาธารณสุขขณะที่เพิ่มปริมาณและคุณภาพของบริการสู่ประชาชนที่ยังไม่ได้รับบริการอย่างทั่วถึง และ สร้างโอกาสให้ประชาชนทุกหมู่เหล่าและทุกวัยได้รับการศึกษาและฝึกอบรมอย่างกว้างขวาง เป็นต้น




4. สารสนเทศกับบุคคล
การพัฒนาของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้เกิดความต้องการและการใช้สารสนเทศของบุคคลเพิ่ม
มากขึ้น สารสนเทศมีการใช้สารสนเทศเพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจในเรื่องที่ตนเกี่ยวข้อง และนำความรู้ความเข้าใจมาตัดสินใจแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็ว ทันเวลากับสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม เป็นเรื่องที่มีความสำคัญไม่จำกัดเฉพาะนิสิตนักศึกษา นักวิชาการ แต่มีความสำคัญกับบุคคลในทุกสาขาอาชีพและทุกวัยเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเรื่องใกล้ชิดและเกี่ยวพันกับชีวิตประจำวันของมนุษย์ เช่น การถอนเงินอัตโนมัติ (ATM: Automatic Teller Machine) ธนาคารอิเล็กทรอนิคส์ (Electronic Banking) การซื้อขายสินค้าทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิคส์ (e-Commerce) การประชุมทางไกล (Tele-Conference) การศึกษาทางไกล (Tele-Education) ระบบห้องสมุดดิจิตอล (Digital Library) การเข้าถึงบริการและสารสนเทศต่างๆผ่านระบบโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น


5. สารสนเทศกับสังคม
สารสนเทศนอกจากมีความสำคัญต่อตัวบุคคลดังที่กล่าวมาแล้ว ยังมีความสำคัญต่อสังคมในด้าน
ต่างๆ (ธนู บุญญานุวัตร. 2550) ได้แก่ ด้านการศึกษา ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ และด้านวัฒนธรรม
5.1 ด้านการศึกษา
การจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยครูผู้สอนทำหน้าที่เป็นผู้แนะนำ
ช่วยเหลือ และกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง ส่งผลให้สารสนเทศมีความสำคัญต่อการเรียนการสอนในทุกระดับการศึกษา สารสนเทศที่ดีมีคุณค่าและทันสมัย จะช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การศึกษาค้นคว้าวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ๆ จำเป็นต้องใช้สารสนเทศที่มีอยู่อย่างสมบูรณ์ถูกต้องจากหลายแขนงวิชามาพัฒนาให้เกิดความรู้ใหม่ขึ้นมาได้
5.2 ด้านสังคม
สารสนเทศช่วยพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ ช่วยพัฒนาบุคลิกภาพส่วนบุคคลให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
อย่างมีความสุข อีกทั้งช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค เกิดการประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่นำมาซึ่งความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิต เราใช้สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ทั้งการประกอบอาชีพการป้องกันและแก้ไขปัญหาชีวิต สารสนเทศช่วยขยายโลกทัศน์ของผู้ได้รับให้กว้างขวาง สร้างความเข้าใจอันดีระหว่างมนุษยชาติ ช่วยลดความขัดแย้ง ทำให้อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข

5.3 ด้านเศรษฐกิจ
สารสนเทศมีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่ที่เรียกว่า เศรษฐกิจบนฐานความรู้
(Knowledge-based Economy) หน่วยงานหรือผู้ประกอบการธุรกิจให้ความสำคัญกับ “การจัดการความ
รู้” (knowledge management) เพื่อรักษาองค์ความรู้ขององค์กรไว้ สารสนเทศด้านธุรกิจการค้าจึงถือ
เป็นต้นทุนการผลิตที่สำคัญในการแข่งขัน ทั้งนี้เพราะสารสนเทศช่วยประหยัดเวลาในการผลิต ลดขั้นตอนการลองผิดลองถูก อีกทั้งช่วยให้องค์กรได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ได้ตามความต้องการของตลาด
5.4 ด้านวัฒนธรรม
สารสนเทศเป็นรากฐานที่จำเป็นสำหรับความก้าวหน้าของอารยธรรม สารสนเทศช่วยสืบทอด ค่านิยม
ทัศนคติ ศิลปะ และวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์อันดีงามของชาติ ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจ ความสามัคคีความมั่นคงในชาติเมื่อตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นของสารสนเทศแล้ว ผู้ใช้สารสนเทศต้องตระหนักว่าการที่จะนำสารสนเทศมาใช้นั้น ต้องอาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารเพื่อสื่อสารสารสนเทศ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่จะตัดขาดจากกันไม่ได้ โดยเรียกว่าเป็น “เทคโนโลยีสารสนเทศ” นั่นเองเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีเดียวที่มีบทบาทสำคัญต่อทุกสาขาอาชีพ และส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมได้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสื่อสารไร้พรมแดนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทำให้ได้รับสารสนเทศจากทั่วโลก การสื่อสารกับผู้คนจากทั่วทุกมุมโลกทำได้อย่างเป็นปัจจุบัน ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมจึงมีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่เป็นสังคมโลก กล่าวคือมีแนวโน้มเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งหมด ในขณะที่ทุกแขนงวิชาและอาชีพก็จำเป็นต้องปรับปรุงกลไกในวิชาชีพให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวด้วยเช่นเดียวกัน


6. บทบาทเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา
ขณะนี้เกือบทุกประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาคุณภาพ
ประชาชนโดยเน้นที่การศึกษา เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกากำหนดนโยบายว่าในปี 2000 ทุกโรงเรียนจะต้องมีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยหนึ่งเครื่องต่อนักเรียนห้าคน และทุกห้องเรียนต้องมีคอมพิวเตอร์ที่ต่ออินเทอร์เน็ตได้ ส่วนสิงคโปร์ก็ประกาศนโยบายว่าโรงเรียนต้องมีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยหนึ่งเครื่องต่อนักเรียนสองคนในปี2002 จะเห็นได้ว่าหลายประเทศรีบเร่งในการนำคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อการศึกษาอย่างกว้างขวาง โดยเน้นเรื่องการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้เป็นระบบกลางที่มีราคาถูกเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชนวิธีการดังกล่าวจะอาศัยแหล่งความรู้และสารสนเทศจากทั่วโลก ซึ่งส่งผลต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน เพราะการเรียนรู้ตลอดชีวิตมีความจำเป็นต่อทุกคน ทั้งต่อการพัฒนาตนเองนำไปสู่การพัฒนาการงานอาชีพ และการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น คนจะพัฒนาตนเองได้ต้องแสวงหาความรู้อยู่เสมอ ถ้ามีแหล่งความรู้ให้ศึกษาค้นคว้า มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งทอดความรู้ มีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ให้เข้า
ถึงความรู้ และรู้จักวิธีแสงหาความรู้ เขาก็จะเป็นผู้เรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิต ดังนั้นทุกประเทศในโลกจึงปรารถนาจะเห็นคนของตัวเองได้เป็นผู้เรียนรู้อยู่เสมอตลอดชีวิต ความคิดนี้ได้ก้าวไปอีกขั้นหนึ่งสู่ความคิดที่ว่า ถ้าช่วยกันทำให้ทุกส่วนของสังคมมีส่วนร่วมสนับสนุน สังคมก็จะเป็น “สังคมแห่งการเรียนรู้” (LearningSociety) เพราะทุกส่วนทุกฝ่ายสามารถเป็นได้ทั้งผู้ให้และผู้รับความรู้ ความคิดเรื่องสังคมแห่งการเรียนรู้เริ่มเป็นที่กล่าวถึงและยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นความจำ�เป็นต่อการพัฒนาประเทศเป็นอย่างยิ่งตัวอย่างเช่น ประเทศสิงคโปร์ เป็นประเทศที่เป็นเกาะเล็กๆ มีประชากรสามล้านคนเศษ เป็น
ประเทศที่อาจกล่าวได้ว่าเป็นทั้งเมืองและประเทศ ในขณะเดียวกันสิงคโปร์ให้ความสำ�คัญกับการศึกษามากเพราะถือว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เท่านั้นที่จะช่วยยกระดับการพัฒนาประเทศแข่งกับประเทศอื่นๆ ในโลกได้ และได้ประกาศตัวเป็น “นครแห่งการเรียนรู้ (Learning Metropolis)”
http://202.143.157.36/userfiles/p1.jpg

สำหรับประเทศไทยได้ระบุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554)
เป็นแผนที่ต่อเนื่องมาจากแผนฯ ฉบับที่ 9 ที่เน้นคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนามีหลักการสำคัญคือ เป็น
ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่เน้นเป้าหมายเชิงคุณภาพ และบริบทการเปลี่ยนแปลงการขยายโอกาสชุมชน/บุคคลสู่ความรู้และบริการพื้นฐานของรัฐ เป็นแผนภาคีร่วมพัฒนา (Collaborative Plan) เน้นเป้าหมายสู่สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน และเชื่อมโยงแผนชุมชนกับแผนชาติ เนื่องจากที่ผ่านมาพบว่าความสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมสังคมมีความเสี่ยงสูง ภูมิคุ้มกันลดลงทรัพยากรสิ่งแวดล้อมมีข้อจำกัดมากขึ้นและใช้ทุนที่มีอยู่ในเชิงปริมาณมากกว่าคุณภาพ และบริบทการเปลี่ยนแปลงต่อการปรับตัวของประเทศที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงต่อ 5 บริบทการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการบริโภค ประสิทธิภาพการใช้พลังงานและพลังงานทางเลือกสังคมของผู้สูงอายุ ปัญหาการออม และผลิตภาพในปัจจุบันประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยได้นำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเพิ่มมากขึ้น เนื่องด้วยคุณลักษณะที่เอื้อต่อการศึกษา ทำให้เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญต่อการส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชนคนไทยในหลายมิติ (ไพรัช และ พิเชฐ. 2542) ดังนี้เทคโนโลยีลดความเหลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษาซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญในการตอบสนองนโยบายการศึกษาที่เป็น “การศึกษาเพื่อประชาชนทุกคน (Education for All)” อันเป็นการสร้างความเท่าเทียมทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเท่าเทียมทางการศึกษา เช่น การติดตั้งจานดาวเทียมในโรงเรียนในชนบทห่างไกลเพื่อให้นักเรียนได้รับโอกาสในการศึกษาที่เท่าเทียมกับนักเรียนในพื้นที่อื่นๆ การติดตั้งเครือข่ายอินเทอเน็ตทำให้ครูและนักเรียนสามารถเข้าถึงสารสนเทศแหล่งข้อมูลจากทั่วโลก นอกจากนี้เทคโนโลยีสารสนเทศยังช่วยให้ผู้พิการมีโอกาสรับการศึกษาและการประกอบอาชีพในสิ่งแวดล้อมของคนปกติ


https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgPU7KnrJr1YvrJydfkDF7itrryCNo3W4RKaY8kYPIi-AYonsSZdCZou6bn9T84INg3cbaQrgRn0PzjjL51tSuBfts9PG1q9BJBRkiXUcFt2i2jN1o5CbbF2J9Or6RABah_ET3JfLkm3D8/s1600/ICT+%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25B8%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%25A5.jpg

ภาพประกอบ 2.2 เทคโนโลยีสารสนเทศกับผู้พิการ

เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา กล่าวคือนวัตกรรมทางการศึกษา
ในปัจจุบันเป็นผลสืบเนื่องจาการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น การผลิตสื่อการศึกษาในรูปแบบซีดีรอมช่วยให้นักเรียนที่เรียนรู้ช้าได้มีโอกาสเรียนรู้ตามศักยภาพของแต่ละคน การนำเสนอสื่อการศึกษาในปัจจุบันยังมีความหลากหลาย โดยมีการนำเสนอด้วยเสียง ข้อความ ภาพ และภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเอื้อต่อการเรียนรู้และกระตุ้นความสนใจในการศึกษาของผู้เรียนทุกวัย นอกจากนี้เทคโนโลยีเสมือนจริง (Virtual Reality)ยังทำช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษาในวิชาชีพที่ภาคปฏิบัติมีความสำคัญ เช่น การฝึกนักบิน การสอนภาคปฏิบัติแก่นักนิสิคลินิก เป็นต้น เทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนต่อการฝึกอบรม การประชุมและการติดต่อสื่อสาร เช่น การอบรมทางไกล(Tele-Training) การประชุมทางไกล(Tele-Conference) การประชุมผ่านอินเทอร์เน็ต(InternetConference) ซึ่งทำให้การฝึกอบรมประหยัดเวลาและงบประมาณ โดยไม่มีข้อจำกัดด้านสถานที่ บุคลากรและเวลา ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือการนำอินเทอร์เน็ตมาสนับสนุนต่อการสื่อสารระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน

วันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2556

บทที่1 แนวคิดและแนวโน้มเกี่ยวกับข้อมูลสารสนเทศยุคใหม่

บทที่1 แนวคิดและแนวโน้มเกี่ยวกับข้อมูลสารสนเทศยุคใหม่


1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสารสนเทศด้วยปัจจุบันนี้เป็นยุคข้อมูล ข่าสาร และความรู้หรือบางคนอาจกล่าวว่าเป็นยุคของสังคมสารสนเทศ
นั่นเอง ที่มีการศึกษาค้นคว้า วิจัยและทดลองในสาขาวิชาต่างๆมากมาย ทำให้เกิดมีความต้องการใช้ ข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เอื้ออำนวยให้เพิ่มปริมาณสารสนเทศได้อย่างรวดเร็วขณะเดียวกันหลายๆ คนอาจจะมีการเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นยุคแห่งการสื่อสารไร้พรมแดนที่มีการแข่งขันทางด้านข้อมูลข่าวสารอย่างแท้จริง ผู้ที่สามารถรับทราบข้อมูลข่าวสารจากทุกสารทิศได้มากที่สุดและรู้จักนำข้อมูลทั้งหลายเหล่านั้นมาประมวลผลเพื่อประกอบการตัดสินใจ ในการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ว่าทางสังคมเศรษฐกิจ การศึกษาและธุรกิจต่างๆ ดังที่มีผู้กล่าวไว้ในเวปของไทยนิวส์ว่า“ในโลกยุคดิจิตอลหรือสังคมข่าวสาร ข้อมูลข่าวสารแทรกเข้าไปในชิวิตประจำวันของคน เราต้องรู้จักใช้ข่าวสารให้เป็นประโยชน์แก่การดำเนินชีวิตตนเอง แก่อาชีพของตน แก่ชุมชน แก่สังคมของตน ใช้ข่าวสาร ความรู้เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ในสังคมข่าวสาร การที่จะมีพลังได้นั้น นอกจากมีอำนาจ เงินตราแล้ว ยังไม่พอต้องมีความรู้ด้วย ข้อมูลข่าวสารอย่างเดียวยังไม่พอ การแพ้ชนะอยู่ที่ใครจะแปลงข้อมูลข่าวสารเป็นความรู้ได้ดีกว่ากัน และใครจะใช้ความรู้นั้นได้เร็วกว่ากัน ข้อมูลข่าวสารเป็นอาหารทางสมอง ที่คนจะบริโภคตั้งแต่เช้าจนถึงก่อนนอน ใครควบคุมเครื่องมือและเครือข่ายข้อมูลข่าวสารได้
http://t1.gstatic.com/imagesq=tbn:ANd9GcTGGGMPWxo391nS61kvvO4EmG3Zem5H1p8fQY6A9RlKcrYq8m9APw
2. ความหมายของสารสนเทศ       สารสนเทศ หรือสารนิเทศ (Information) เป็นคำเดียวกันซึ่งสามารถให้ความหมายอย่างกว้างๆ
ว่าหมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ เรื่องราว ข้อเท็จจริงหรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ขณะเดียวกันก็มีความ
หมายในเชิงลึกว่า หมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ที่ผ่านการประมวลผล ซึ่งมีความหมายและสามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจในชีวิตประจำวัน หรือการทำงานนั้นๆชุติมา สัจจานันท์ (2530) ได้ชี้ให้เห็นว่าสารสนเทศ คือข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ข้อสนเทศ สารสนเทศทั้งในรูปแบบสิ่งพิมพ์ โสตทัศนวัสดุ และวัสดุย่อส่วน เพื่อใช้ประโยชน์ทางการสื่อสารและการพัฒนาด้านต่างๆทั้งส่วนบุคคลและสังคมพิมพ์รำไพ เปรมสมิทธ์ (2538) ให้ความหมาของสารสนเทศว่าเป็นข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงให้อยู่ในสภาพในการนำไปใช้ประโยชน์กับผู้ใช้เฉพาะราย ซึ่งเป็นการจัดการเพื่อให้ผู้ได้รับมีการเพิ่มพูนความรู้มาลี ล้ำสกุล (2549)ได้สรุปสารสนเทศ คือ ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้รูปแบบต่างๆ ที่มีการบันทึกประมวลผล หรือดำเนินการด้วยวิธีใดๆและสามารถนำไปเผยแพร่และใช้ประโยชน์ทั้งในส่วนบุคคลและสังคมฉะนั้นสรุปได้ว่า สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ที่ได้มีการจัดการไม่ว่าจะเป็นการคิดคำนวณประมวลผลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ ได้มีการคัดเลือกสรรและนำไปใช้ให้ทันต่อความต้องการในการใช้งาน และทันเวลา
3. ความสำคัญของสารสนเทศ       สารสนเทศเป็นปัจจัยที่สำคัญในโลกปัจจุบันนี้ ทั้งนี้เพราะการกำหนดแนวทางพัฒนา นโยบายทาง
ด้านการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ การศึกษา สังคม และวัฒนธรรมมีความสำคัญต่อการพัฒนามนุษย์และสังคมเพื่อเสริมสร้างความรู้อันที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตทั้งด้านการงานนั้น อีกทั้งเป็นแนวทางในการแก้ไข ปัญหา ช่วยในการวางแผน และช่วยตัดสินใจ อย่างเช่นหากผู้ใดที่รู้จักใฝ่เรียนรู้และได้รับสารสนเทศที่ดี มีคุณค่า และมีความทันสมัยอย่างต่อเนื่อง ย่อมมีชัยชนะเหนือผู้อื่น ประกอบกับความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต โดยเฉพาะการเข้าถึงสารสนเทศของยุคสังคมข่าวสารที่มีความเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร ในการทำงานและการเรียนรู้นั้นจะมีการเข้าถึงสารสนเทศโดยระบบเครือข่าย การติดต่อสื่อสารผ่านทาง     อิเล็กทรอนิกส์ ตลอดทั้งการแพร่กระจายข้อมูลข่าวสารบนระบบอินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์ต่างๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่เห็นการเปลี่ยนแปลงที่แพร่หลายในสังคมสารสนเทศที่เน้นคุณค่าของข้อมูล ข่าวสาร มีการจัดเก็บและการใช้ประโยชน์ มีการวิจัยพัฒนาเพื่อค้นหาข้อมูลข่าวสาร สาเหตุของสิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดข้อมูลข่าวสารใหม่ ๆ ที่มีความสำคัญต่อการวิจัยและการพัฒนาต่อไป และในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นองค์ประธาน ในพิธีเปิดการประชุมวิชาการ ของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ประจำปีพุทธศักราช 2536 ณ โรงแรมบางกอกพาเลส ทรงดำรัสถึงความสำคัญของสารสนเทศ ว่า “ในสังคมปัจจุบันนี้ สารนิเทศได้มีบทบาทต่อการดำเนินงานของทุกสาขาอาชีพ ทั้งในภาครัฐและเอกชน ให้ประสพผลสำเร็จและพัฒนาให้มีความเจริญก้าวหน้า เป็นสื่อที่ก่อให้เกิดความเข้าใจ อันดีระหว่างมวลมนุษย์ทั้งในระดับชาติ และนานาชาติประการสำคัญ คือ เป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ จริยธรรม สังคม วัฒนธรรม การเมือง การปกครอง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศสารนิเทศที่ถูกต้องสมบูรณ์และทันสมัยเท่านั้น ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ”(สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย, 2536) ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าความสำคัญของสารสนเทศมีต่อการทำงานในด้านต่างๆ ดังนี้ คือ (ชุติมา สัจจานันท์, 2530)รัฐบาลต้องการสารสนเทศที่ทันสมัยมาใช้ประกอบการวินิจฉัยสั่งการและวางแผนงานเพื่อพัฒนาประเทศวงการธุรกิจ สารสนเทศเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จในการดำเนินงานประจำวันของโลกธุรกิจ และวงการอาชีพช่วยในการตัดสินใจ การปฏิบัติงานประจำวันการวางแผนการคาดการณ์สำหรับอนาคตวงการศึกษาและวิจัย สารสนเทศเป็นปัจจัยพื้นฐาน ช่วยพัฒนาความรู้ ความเชี่ยวชาญทางวิชาการและเป็นปัจจัยพื้นฐานของการเรียนการสอน การค้นคว้าวิจัยของนักเรียน นักศึกษา ครูอาจารย์ นักวิชาการและนักวิจัย บุคคลทั่วไปต้องการสารสนเทศเพื่อใช้ในการพัฒนาอาชีพ การศึกษาในเรื่องต่างๆ ที่น่าสนใจและความบันเทิง เป็นต้น
4. ประเภทของสารสนเทศ       การจำแนกประเภทของสารสนเทศได้มีการจำแนกออกเป็น ตามแหล่งสารสนเทศและตามสื่อที่
จัดเก็บ ดังนี้ คือ (มาลี ล้ำสกุล, 2549)
1. สารสนเทศจำแนกตามแหล่งสารสนเทศ เป็นการจำแนกสารสนเทศตามการรวบรวมหรือ
จัดกระทำกับสารสนเทศ จำแนกได้ดังนี้
1.1 แหล่งปฐมภูมิ (Primary Source) คือ สารสนเทศที่ได้มาจากต้นแหล่งโดยตรง เป็น
สารสนเทศทางวิชาการ ผลของการศึกษาค้นคว้า วิจัย รายงาน การค้นพบทฤษฎีใหม่ ๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม ซึ่งนำไปสู่การยอมรับเป็นทฤษฎีใหม่ที่เชื่อถือได้ สารสนเทศประเภทนี้มักจะถูกถ่ายทอดออกมาในลักษณะของสิ่งพิมพ์ เช่น วารสาร รายงานการวิจัย รายงานการประชุมมและสัมมนาวิชาการ สิทธิบัตร เอกสารมาตรฐานต่าง ๆ ต้นฉบับตัวเขียน จดหมายเหตุ วิทยานิพนธ์ และการถ่ายทอดทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น วารสารอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
1.2 แหล่งทุติยภูมิ (Secondary Source) คือ สารสนเทศที่มีการรวบรวม เรียบเรียงขึ้นใหม่
จากแหล่งสารสนเทศปฐมภูมิ มักจะอยู่ในรูปแบบการสรุป ย่อเรื่อง จัดหมวดหมู่ ทำดรรชนีและสาระสังเขปเพื่อประโยชน์ในการเข้าถึงและสามารถใช้ข้อมูลได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ได้แก่ สื่ออ้างอิงประเภทต่าง ๆ วารสารที่มีการสรุปย่อและตีความ รวมถึงหนังสือ ตำรา ที่รวบรวมเนื้อหาวิชาการในการเรียนการสอน สารานุกรมพจนานุกรม รายงานสถิติต่าง ๆ ดรรชนีและสาระสังเขป
1.3 แหลง่ ตตยิ ภมูิ (Tertiary Source) คอื สารสนเทศทจี ดั ทำขึน้ เพือ่ ใช้ในการคน้ หาสารสนเทศ
จากแหล่งปฐมภูมและทุติยภูมิ จะไม่ได้ให้เนื้อหาสาระโดยตรง แต่จะมีประโยชน์ในการค้นหาสารสนเทศที่ให้ความรู้เฉพาะสาขาวิชา ได้แก่ บรรณานุกรม นามานุกรม ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์จึงได้มีการจัดเก็บบันทึกข้อมูลไว้ในสื่อคอมพิวเตอร์ มักจะออกนำเผยแพร่ในรูปของ CD-ROM ฐานข้อมูลออฟไลน์
2. สารสนเทศจำแนกตามสื่อที่จัดเก็บ เป็นการจำแนกสารสนเทศตามชนิดของสื่อที่ใช้ใน
การบันทึกข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ได้แก่ กระดาษ วัสดุย่อส่วน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อแสง
2.1 กระดาษ เป็นสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูล สารสนเทศ ที่ใช้ง่ายต่อการบันทีก รวมทั้งการเขียน
และการพิมพ์ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันจนถึงปัจจุบัน
2.2 วัสดุย่อส่วน เป็นสื่อที่ถูกสำเนาย่อส่วนลงบนแผ่นฟิล์มชนิดต่างๆ ทั้งที่เป็นม้วนและเป็น
แผ่น มีการจัดเรียงลำดับเนื้อหาตามต้น เช่น เอกสารจดหมายเหตุ หนังสือพิมพ์ เอกสารสำคัญ วิทยานิพนธ์เป็นต้น
2.3 สื่ออิเล็กทรอนิกหรือสื่อแม่เหล็ก เป็นวัสดุสังเคราะห์เคลือบด้วยสารแม่เหล็ก สามารถ
บันทึกและแก้ไขข้อมูลได้สะดวกทั้งข้อมูลที่เป็นแอนาล็อก และดิจิตอล เช่น เทปวีดิทัศน์ เทปบันทึกเสียงฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น
2.4 สื่อแสงหรือสื่อออปติก (Optical Media) เป็นสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลและอ่านข้อมูล
ด้วยแสงเลเซอร์ เช่น ซีดี-รอม ดีวิดี เป็นต้น ซึ่งมีความจุมากเป็นพิเศษ
5. คุณสมบัติของสารสนเทศ       ดังที่กล่าวมาแล้วนั้นว่าสารสนเทศมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินชิวิต การบริหารจัดการ และ
ใช้ในการวินิจฉัยสั่งการ รวมทั้งใช้ในการตัดสินใจในการทำงานและดำเนินชีวิต ฉะนั้นเพื่อประโยชน์ในการใช้งานสารสนเทศ จึงต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับคุณสมบัติที่ดีของสารสนเทศ ดังนี้ (มาลี ล้ำสกุล, 2549; จีราภรณ์ รักษาแก้ว, 2528; พิมพ์รำไพ เปรมสมิทธ์, 2535)
1) สามารถเข้าถึงได้ง่าย (Accessibility) หมายถึงความสะดวกรวดเร็วในการเข้าถึงสารสนเทศ
เพื่อนำสารสนเทศไปใช้ในการประกอบการตัดสินใจ รวมทั้งความรวดเร็วในการสืบค้น
2) มีความถูกต้อง (Accurate) สารสนเทศที่ดีต้องมีความเที่ยงตรง และเชื่อถือได้ โดยไม่มีความ
คาดเคลื่อนหรือมีความคาดเคลื่อนน้อยที่สุด ฉะนั้นสารสนเทศที่มีเนื้อหาที่ถูกต้องจึงควรพิสูจน์ได้ หรือระดับความถูกต้องเป็นที่ยอมรับ เช่น สารสนเทศที่ดีต้องไม่นำเอาข้อมูลที่ผิดพลากเข้าสู่ระบบ เพราะเมื่อนำไปประมวลผลแล้วจะทำให้ได้สารสนเทศที่ผิดพลาดตามไปด้วย เป็นต้น
3) มีความครบถ้วน (Completeness) สารสนเทศที่ดีต้องมีความสมบูรณ์ที่จะช่วยในการตัดสินใจ
เป็นไปด้วยความถูกต้อง เช่นการกำหนดราคาสินค้า หากได้สารสนเทศไม่ครบทุกด้านหรือเพียงขาดไปด้านใดด้านหนึ่งย่อมทำให้การคำนวณต้นทุนผิดพลาด ซึ่งการกำหนดราคาสินค้าก็ผิดพลาดไปด้วย
4) ความเหมาะสม (Appropriateness) พิจารณาถึงการได้รับสารสนเทศตรงกับความต้องการ
ของผู้ใช้มากน้อยเพียงใด ทั้งนี้หากสารสนเทศที่ได้รับนั้นไม่ตรงกับความต้องการก็ไม่เกิดประโยชน์ โดยเฉพาะการผลิตสารสนเทศต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ
5) ความทันต่อเวลา (Timeliness) สารสนเทศต้องได้มาให้ทันต่อเวลาในการใช้งาน หมายความ
ว่าสารสนเทศต้องมีระยะเวลาสั้น มีความรวดเร็วในการประมวลผล เพื่อผู้ใช้สารสนเทศจะได้รับสารสนเทศได้ทันเวลา
6) ความชัดเจน (Clarity) คือสารสนเทศที่ไม่ต้องมีการตีความ ไม่กำกวม ไม่คลุมเครือ และไม่ต้อง
หารคำตอบเพิ่มเติม
7) ความยืดหยุ่น (Flexibility) เป็นการนำสารสนเทศไปปรับใช้ได้ในหลายสถานณการณ์ หรือเป็น
สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้อย่างกว้างขวาง มากกว่าเป็นสารสนเทศที่เฉพาะบุคคล
8) ความสามารถในการพิสูจน์ได้ (Verifiability) โดยขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาของสารสนเทศว่าใคร
เป็นผู้รับผิดชอบในการผลิต หมายความว่าสารสนเทศนั้นต้องสามารถพิสูจน์หรอตรวสอบได้ว่าเป็นความจริง
9) ความซ้ำซ้อน (Redundancy) สารสนเทศที่ได้รับนั้น มีความซ้ำซ้อน หรือมีมากเกินความ
จำเป็นหรือไม่ ดงนั้นสารสนเทศที่ดีต้องไม่มีความซ้ำซ้อน
10) ความไม่ลำเอียง (Bias) ลักษณะสารสนเทศที่ผลิตขึ้น ไม่มีเจตนาในการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไข
สารสนเทศตามที่ได้กำหนดหรือหาข้อยุติไว้ล่วงหน้า
6. แหล่งสารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศ       แหล่งสารสนเทศ หมายถึงแหล่งที่เกิด แหล่งที่ผลิต หรือแหล่งที่จัดเก็บและให้บริการทรัพยากร
สารสนเทศ ในรูปแบบที่หลากหลายอย่างเป็นระบบและยังเป็นแหล่งที่ทำการอนุรักษ์ทรัพย์สินทางปัญญาโดยมีบทบาทหน้าที่ต่อสังคมเพื่อการบริการสารสนเทศและส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าแก่ผู้ต้องการสารสนเทศ
6 เอกสารประกอบการสอน - (0026 008)
ในระดับต่างๆ กัน โดยแบ่งได้ 4 แหล่งดังนี้คือ (รัถพร ซังธาดา, 2541; ชัชวาลย์ ประเสริฐวงษ์, 2544)
1) แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถาบัน หมายถึง สถาบันที่ตั้งขึ้นมาเพื่อ จัดหา รวบรวมวัสดุสารสนเทศ
ชนิดต่าง ๆ มาจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อให้บุคคลมาศึกษาหาความรู้จากวัสดุสารสนเทศเหล่านั้น ตัวอย่างเช่น ห้องสมุด ศูนย์สารสนเทศ สำนักวิทยบริการ พิพิธภัณฑ์ หอจดหมายเหตุ ศูนย์วัฒนธรรม และหอศิลป์เป็นต้น
2) แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่ คือ แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่จริง หรือสถานที่จำลอง ซึ่ง
ผู้ใช้สามารถไปศึกษาหารความรู้จากตัวสถานที่เหล่านั้น เช่น ปราสาทเขาพระวิหาร สวนส้ม ไร่นาสวนผสม
ฟาร์มจระเข้ และเมือโบราณ เป็นต้น แหล่งประเภทนี้มีประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าอย่างยิ่ง เพราะบุคคลจะได้รับประสบการณ์ตรง ทั้งยังเป็นแหล่งที่เข้าถึงได้ไม่ยากนัก ส่วนข้อด้อยของแหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่ คือ สถานที่บางแห่งอยู่ไกล การเดินทางไปสถานที่แห่งนั้นต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่ายเป็นเงินจำนวนมากในกรณีเช่นนี้ ผู้ใช้สารสนเทศอาจเปลี่ยนมาใช้สารสนเทศในรูปแบบของวัสดุตีพิมพ์หรือไม่ตีพิมพ์ ซึ่งมีอยู่ในแหล่งสารสนเทศประเภทสถาบันแทน
3) แหล่งสารสนเทศที่เป็นบุคคล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้รอบรู้ในสาขาวิชาต่างๆ ผู้เชี่ยวชาญบางสาขา
วิชาจะมีผลงานเป็นสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่ผู้ใช้สามารถค้นคว้าได้ด้วยตนเอง แต่ผู้เชี่ยวชาญบางคนก็ไม่มีผลงานในลักษณะของวัสดุสารสนเทศ ผู้ต้องการสารสนเทศจากผู้เชี่ยวชาญประเภทหลังนี้ต้องไปพบปะสนทนา หรือสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญนั้นโดยตรงจึงจะได้สารสนเทศที่ต้องการ เช่น นักบวช กวี ศิลปินนักปราชญ์ ราชบัณฑิต ภูมิปัญญาชาวบ้าน นักวิทยาศาสตร์
4) แหล่งสารสนเทศที่เป็นเหตุการณ์ ได้แก่กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น 14 ตุลา ในปี พ.ศ. 2516
พฤษาทมิฬ ในปี พ.ศ. 2535 เหตุการณ์ 911 หรือ การก่อการร้ายตึกเวิลด์เทรดเซนเตอร์ เมื่อวันที่ 11 กันยายน2544 การจัดกิจกรรม งานมหกรรม งานบุญประเพณี หรือการประชุมสัมมนาในเรื่องต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นแหล่งสารสนเทศในเรื่องนั้นๆ และจัดเป็นแหล่งสารสนเทศปฐมภูมิ
5) แหล่งสารสนเทมศสื่อมวลชน ซึ่งเป็นแหล่งที่มุ่งเผยแพร่สารสนเทศ ที่เป็นเหตุการณ์ ข่าวสาร โดย
เน้นความทันสมัยต่อเหตุการณ์ เป็นการถ่ายทอดในรูปของการกระจายเสียง ภาพและตัวอักษรโดยผ่านสื่อประเภทวิทยุ โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์
http://thaichamp.files.wordpress.com/2011/09/1_2_21.jpg6) แหล่งสารสนเทศที่เป็นอินเทอร์เน็ต เป็นแหล่งสารสนเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทั้งนี้เนื่องจากทั้งหน่วย
งานของภาครัฐ เอกชน รวมทั้งหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาค้นคว้า การค้าขาย และธุรกิจต่างๆได้มีการประชาสัมพันธ์ข้อมูล ข่าวสารของหน่วยงานของตนเป็นจำนวนมาก จึงทำให้อินเทอร์เน็ตมีข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศมากมาย ฉะนั้นอินเทอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งสารสนเทศที่มีความสำคัญต่อการศึกษาค้นคว้าทั้งนี้เพราะเป็นแหล่งสารสนเทศขนาดใหญ่มีการนำเสนอข้อมูล ข่าสาร สารสนเทศหลากหลายรูปแบบเช่นสื่อผสม เครือข่ายอินเทอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งสารสนเทศที่นำมาประยุกต์ใช้ในการศึกษาช่วยสนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้เรียน หรือผู้ต้องการสารสนเทศค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้จากอินเทอร์เน็ต เช่น ฐานข้อมูลห้องสมุด วารสารและจดหมายข่าวอิเล็กทรอนิกส์ บริการทางการศึกษาของมหาวิทยาลัย โปรแกรมคอมพิวเตอร์และข้อมูลข่าวสารต่างๆ โดยใช้บริการอินเทอร์เน็ต เช่น บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ บริการถ่ายโอนแฟ้ม
ข้อมูล การสนทนาทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การบริการเวิลด์ไวด์เว็บ และสังคมออนไลน์ เป็นต้น
การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน 7
7. ทรัพยากรสารสนเทศ (Information Resources or Information Materials)       ทรัพยากรสารสนเทศ หมายถึง วัสดุหรือสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ ความรู้ และ
ความคิดต่างๆ หรืออาจเรียกว่า วัสดุสารสนเทศ แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ ทรัพยากรตีพิมพ์ (Printed
Materials) ทรัพยากรไม่ตีพิมพ์ (Non printed Materials) และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Media)
7.1 ประเภทและชนิดของทรัพยากรสารสนเทศ
1) ทรัพยากรตีพิมพ์ (Printed Materials) เป็นสารสนเทศที่มีลักษณะเป็นแผ่น หรือรูปเล่มที่
ตีพิมพ์ในกระดาษ มีขนาดต่าง ๆ กัน และมีหลาหหลายรูปแบบ เช่น หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ จุลสาร
และกฤตภาค เป็นต้น เป็นการรับรู้สารสนเทศได้โดยตรงและง่าย ๆ จากทรัพยากรประเภทนี้ จำแนกได้ดังนี้(บุญถิ่น คิดไร, 2550)
- หนังสือ (Book) คือ สิ่งพิมพ์ที่เป็นรูปเล่ม มีการบันทึกสารสนเทศเป็นเรื่องราวที่ศึกษาค้นคว้า
วิจัยหรือคิดสร้างสรรค์ จนได้เนื้อหาละเอียดกว้างขวางลึกซึ้งต่อเนื่อง อาจแบ่งเนื้อหาออกเป็นตอน เป็นบทเป็นเล่ม เป็นชุด จัดขึ้นเมื่อไรก็ได้ตามแต่ความต้องการของผู้จัดพิมพ์ เช่น หนังสือสารคดี ตำรา แบบเรียนวิทยานิพนธ์ ใช้ในการอ่านเพื่อการศึกษาเรียนรู้ และนวนิยาย เรื่องสั้นที่ให้ความบันเทิง จรรโลงใจในการอ่าน
- วารสาร (Periodicals) คือสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง (Serial) ที่มีวาระการออกที่แน่นอน เช่น ราย
สัปดาห์ รายเดือน รายสามเดือน รายหกเดือน เป็นต้น โดยมีลักษณะส่วนประกอบที่สำคัญซึ่งแสดงลักษณะเฉพาะตัว คือ ชื่อวารสาร (Title) ปีที่ (Volume) ฉบับที่ (Number) เดือน ปีที่ออกวารสาร ราคา และเลขมาตรฐานสากลประจำสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง (International Standard Serial Number - ISSN)
3 ประเภท คือ วารสารวิชาการ (Journal) ให้เนื้อหาสารระที่เน้นวิชาการด้านต่างๆ ใช้อ่านเพื่อการศึกษา
ค้นคว้าในสาขาวิชานั้นๆ วารสารบันเทิง (Magazine) เนื้อหาสาระส่วนใหญ่จะเน้นวิชาการ และ วารสาร
เชิงวิพากษ์วิจารณ์ จะเป็นการนำเสนอสรุปข่าวสำคัญ เช่นข่าวการเมือง เศรษฐกิจ และมีบทวิพากษ์วิจารณ์เนื้อหา ความเป็นมา เบื้องหน้าเบื้องหลัง เหตุการณ์ บุคคล สถานที่ที่เกี่ยวข้อง
ฉะนั้นวารสารจะเป็นทรัพยากรที่ให้สารสนเทศในการค้นคว้าและติดตามเรื่องราว ประเด็นต่างๆ
ทัศนะความคิดเห็นตลอดจนความรู้ที่ทันสมัย
- หนังสือพิมพ์ (Newspapers) เป็นสิ่งพิมพ์ที่ให้สารสนเทศรายวัน เป็นการรายงานข่าวเเหตุ
การณ์ประจำวัน ความเปลี่ยนแปลง ความเป็นไปของสังคมนั้นๆ ให้เป็นที่ทราบโดยทั่วถึงและรวดเร็วที่สุด
นอกจากนั้นแล้วยังมีคอลัมน์ข่าวเชิงวิจารณ์เสนอความคิดชี้ชวน โต้แย้ง หรือวิธีแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่าง
หลากหลายกว้างขวางทั้งด้านวิชาการและเรื่องเริงรมย์
- จุลสาร (Pamphlet) เป็นสิ่งพิมพ์ขนาดเล็กที่มีเนื้อหาเฉพาะด้าน อาจจะเป็นกระดาษชิ้นเล็ก
ๆ เพียงแผ่นเดียว หรือเป็นแผ่นพับ หรือเป็นรูปเล่มเล็ก ๆ บาง ๆ หรือเป็นการประชาสัมพันธ์เรื่องใดเรื่อง
หนึ่งแก่ชุมชน เนื้อหาจะมีความทันสมัยเพียงชั่วเวลาหนึ่ง
- กฤตภาค (Clipping) เป็นสิ่งพิมพ์ที่นำเรื่องราว สารสนเทศที่สำคัญจากหนังสือพิมพ์ วารสาร
หรือแผ่นพับ นำมาตัดแล้วผนึกลงบนกระดาษแล้วรวบรวมไว้ให้ผู้ช้ได้ใช้ประโยชน์ต่อไป มีการจัดเก็บใส่แฟ้มแยกเป็นเรื่องๆ ด้วยปัจจุบันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ตัด คัดลอกทั้งเนื้อหาและภาพในสิ่งพิมพ์ใดๆ ตามต้องการ มาเก็บไว้ในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ซึ่งสามารถจัด